SETTRADE.COM - SAA Consensus หุ้นที่มีการ update วันนี้

Thursday, May 28, 2009

USA:GM ใกล้ล้มละลายหลังผู้ถือหุ้นกู้ปฏิเสธข้อเสนอสว็อปหุ้น

ดีทรอยต์/นิวยอร์ค--27 พ.ค.--รอยเตอร์

บริษัทเจเนอรัล มอเตอร์ส คอร์ป (GM) ประสบความล้มเหลวในการชักจูงผู้ถือหุ้นกู้จำนวนมากพอให้ยอมรับข้อตกลงสว็อป หุ้นกู้กับหุ้นสามัญ ซึ่งอาจส่งผลให้ GM ล้มละลายในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ซึ่งจะถือเป็นการล้มละลายครั้งใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์ในภาคอุตสาหกรรม สหรัฐ

ความล้มเหลวนี้สร้างความผิดหวังเป็นอย่างมากต่อ GM ซึ่งเป็นบริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐ นาย พีท เฮสติงส์ นักวิเคราะห์สินเชื่อของบริษัทมอร์แกน คีแกน กล่าวว่า "ผมคิดว่านี่เป็นการปฏิเสธอย่างมีเหตุผลต่อข้อเสนอที่ไม่เหมาะสม ซึ่งผมเคยพูดไปแล้วว่า ข้อเสนอนี้จะไม่มีทางได้รับการยอมรับ และเราก็เพียงแค่รอเวลาให้ข้อเสนอนี้ได้รับการปฏิเสธเท่านั้น"

GM พยายามที่จะชักจูงผู้ถือหุ้นกู้ราว 90 % ให้สนับสนุนข้อเสนอนี้เพื่อหลีกเลี่ยงจากภาวะล้มละลาย แต่แหล่งข่าวกล่าวว่า ภายในช่วงเที่ยงของเมื่อวานนี้ ผู้ถือหุ้นกู้ที่สนใจข้อเสนอนี้มีสัดส่วนเพียงตัวเลขหลักเดียวเท่านั้น ผู้ถือหุ้นกู้มีเวลาจนถึงเที่ยงคืนของวันอังคารตามเวลาท้องถิ่นในการตัดสิน ใจขั้นสุดท้ายเรื่องข้อเสนอนี้ ซึ่งระบุว่าผู้ถือหุ้นกู้จะต้องยกหนี้ของตนเพื่อแลกเปลี่ยนกับการถือหุ้น 10 % ในบริษัทหลังการปรับโครงสร้าง

ทางด้าน GM ไม่ได้แสดงความเห็นเรื่องการสว็อปหุ้นกู้ดังกล่าว โดยระบุว่า ทางบริษัทจะเปิดเผยผลดังกล่าวในวันนี้ ขณะที่แหล่งข่าวกล่าวว่า GM อาจยื่นเรื่องล้มละลายในช่วงตั้งแต่หลังเที่ยงคืนของวันอังคารจนถึงก่อนวัน ที่ 1 มิ.ย.

อย่างไรก็ดี GM บรรลุข้อตกลงเมื่อวานนี้กับผู้นำสหภาพแรงงานรถยนต์สหรัฐ (ยูไนเต็ด ออโต้ เวิร์คเกอร์ส หรือ UAW) โดยการเจรจาต่อรองระหว่าง GM กับ UAW มุ่งไปที่แนวทางในการปรับโครงสร้างเงื่อนไขในการจ่ายเงินที่ค้างอยู่ 2 หมื่นล้านดอลลาร์เข้าสู่กองทุนทรัสต์ประกันสุขภาพสำหรับผู้เกษียณอายุ (สมาคมสวัสดิการลูกจ้างแบบสมัครใจ หรือ VEBA) UAW ตกลงที่จะเข้าถือหุ้นสามัญ 17.5 % ใน GM หลังการปรับโครงสร้าง นอกจากนี้ UAW จะได้รับหุ้นบุริมสิทธิ์ 6.5 พันล้านดอลลาร์ และตราสารหนี้อีก 2.5 พันล้านดอลลาร์ด้วย

การทำข้อตกลงยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวหมายความว่า UAW ประสบความสำเร็จในการแบกรับความเสี่ยงในระดับที่ต่ำกว่าที่ระบุไว้ในข้อเสนอ ฉบับก่อนหน้านี้ของ GM โดยข้อเสนอฉบับนั้นระบุว่า UAW จะได้ถือครองหุ้นสามัญ 39 % ใน GM

GM จะเสนอโครงการผลตอบแทนสำหรับผู้ที่สมัครใจลาออกจากงานให้แก่ลูกจ้างทั้งหมดของ UAW UAW ระบุในเอกสารที่เผยแพร่แก่พนักงานของ GM ว่า "วันนี้ GM ยืนอยู่ที่ริมขอบของการล้มละลาย" สมาชิก สามัญใน UAW จะลงมติในเรื่องสัญญาดังกล่าวในวันนี้และพรุ่งนี้ โดยเจ้าหน้าที่สหภาพแรงงานที่ประชุมกันที่เมืองดีทรอยต์เมื่อวานนี้ได้ลงมติ อย่างเป็นเอกฉันท์ในการสนับสนุนสัญญานี้ หลังจากรับฟังถ้อยแถลงของนายรอน เกลเทลฟิงเกอร์ซึ่งเป็นประธาน UAW

ผู้ถือหุ้นสามัญในปัจจุบันจะได้ ถือหุ้นเพียง 1 % ใน GM หลังการปรับโครงสร้าง นายเจมส์ ยาร์โบรห์ ซึ่งเป็นนักบัญชีที่ปลดเกษียณแล้ว กล่าวถึงข้อเสนอเรื่องการแลกหุ้นกู้กับหุ้นสามัญ 10 % ว่า "ข้อเสนอนี้เหมือนกับการตบหน้า" โดยนายยาร์โบรห์ลงทุนในหุ้นกู้ของ GM ไปแล้วเป็นเงินถึง 158,000 ดอลลาร์นับตั้งแต่ปี 1994 เป็นต้นมา โดยเขาเสียใจที่เขาซื้อหุ้นกู้เพิ่มเติมในปี 2008 เนื่องจากเขาคาดการณ์ในขณะนั้นว่า GM กำลังจะฟื้นตัว แหล่งข่าวกล่าวว่า ทางทำเนียบขาวยังคงเจรจากับผู้ถือหุ้นกู้เพื่อพยายามบรรลุข้อตกลง ราคา หุ้น GM ปิดตลาดวานนี้ขยับขึ้น 1 เซนต์ สู่ 1.44 ดอลลาร์ในตลาดหุ้น นิวยอร์ค หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1.12-1.84 ดอลลาร์ในระหว่างวัน โดยหุ้น GM อาจกลายเป็นสิ่งที่ไร้ค่าถ้าหาก GM ล้มละลาย รัฐบาลสหรัฐได้จัดสรร เงินรวมกัน 3.66 หมื่นล้านดอลลาร์ให้แก่ GM, ไครสเลอร์ และบริษัทไฟแนนซ์ในเครือของสองบริษัทนี้นับตั้งแต่เดือนธ.ค.2008 โดยแหล่งข่าวกล่าวว่า รัฐบาลอาจจัดสรร "เงินทุนหมุนเวียนที่เพียงพอ" ให้แก่ GM ในระหว่างการล้มละลาย และจะดำเนินบทบาทน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ในฐานะผู้ถือหุ้น

หนังสือ พิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล (WSJ) รายงานว่า กระทรวงการคลังสหรัฐวางแผนจะอัดฉีดเงิน 5 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาของ GM โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของหุ้นสามัญ นอกจากนี้ WSJ ยังระบุว่า รัฐบาลอาจเพิ่มการถือครองหุ้นขึ้นสู่ 70 % จาก 50 % เพื่อลดหนี้ของ GM หลังจาก GM ออกจากภาวะล้มละลาย

แหล่งข่าวกล่าวว่า การล้มละลายของ GM อาจใช้เวลานานกว่าการล้มละลายของบริษัทไครสเลอร์ เพราะว่าเครือข่ายทั่วโลกของ GM มีความซับซ้อนสูง อย่างไรก็ดี รัฐบาลต้องการที่จะขายหุ้นออกไปเมื่อใดก็ตามที่รัฐบาลมั่นใจว่า ผลประโยชน์ของผู้เสียภาษีจะได้รับความคุ้มครองในขณะที่ทางบริษัทเปิดดำเนิน การต่อไปไครสเลอร์กำลังรอการอนุมัติในสัปดาห์นี้ในการขายกิจการให้แก่ บริษัท "ไครสเลอร์ใหม่" ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่างรัฐบาลสหรัฐ, รัฐบาลแคนาดา, สหภาพแรงงานของไครสเลอร์ และบริษัทเฟียต ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์ของอิตาลี โดยการพิจารณาคดีเรื่องการขายกิจการจะมีขึ้นในวันนี้

เมื่อวานนี้ผู้ พิพากษาของรัฐบาลกลางสหรัฐได้ปฏิเสธคำร้องของกลุ่มกองทุนเงินบำนาญรัฐ อินเดียนาที่ต้องการให้ชะลอการพิจารณาคดีเรื่องการขายกิจการไครสเลอร์และ ต้องการให้ย้ายคดีล้มละลายนี้ไปยังศาลเขตการล้มละลายของไครสเลอร์และการ ที่ GM ใกล้จะล้มละลายได้ส่งผลกระทบต่อซัพพลายเออร์ของอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยนางเจนนิเฟอร์ แกรนโฮล์ม ซึ่งเป็นผู้ว่าการรัฐมิชิแกนกล่าวว่า บริษัทซัพพลายเออร์หรือบริษัทจัดหาอะไหล่รถยนต์ของสหรัฐจำเป็นต้องได้รับ เงินช่วยเหลือฉุกเฉินจากทางรัฐบาลราว 8 พันล้านดอลลาร์

ในช่วงไม่กี่ เดือนข้างหน้าถ้าหาก GM ล้มละลาย ส่วนในยุโรปนั้น ยังคงมีการเจรจากันต่อไปในประเด็นเรื่องการขายกิจการ Opel ของ GM เมื่อวานนี้รัฐบาลเยอรมนีได้กดดันผู้ยื่นเสนอซื้อ Opel 3 รายให้ปรับปรุงข้อ เสนอของตนเองให้ดีขึ้น โดยระบุว่าผู้เสนอซื้อจำเป็นต้องแบกรับความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น และต้องให้สัญญาอย่างน่าเชื่อถือว่าจะรักษาการจ้างงานและโรงงาน

นาย คาร์ล-ธีโอดอร์ ซู กุทเทนเบิร์ก ซึ่งเป็นรัฐมนตรีเศรษฐกิจเยอรมนี กล่าวต่อผู้สื่อข่าวหลังจากประชุมกับนายเซอร์จิโอ มาร์ชิออนเน ซีอีโอของเฟียตว่า ข้อเสนอซื้อของเฟียตมีความจริงจัง แต่ข้อเสนอซื้อจากบริษัทแมกนาของแคนาดาและจากบริษัทอาร์เอชเจ อินเตอร์เนชั่นแนลของเบลเยียมยังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณา

"ยังไม่มีข้อเสนอใดที่เป็นที่ชื่นชอบ ทุกคนรู้ว่ายังคงมีความจำเป็นในการปรับปรุงข้อเสนอให้ดีขึ้น" นายกุทเทนเบิร์กกล่าว

บริษัทเบจิง ออโตโมทีฟ อินดัสตรี คอร์ป (BAIC) ของจีนได้ยื่นข้อเสนอซื้อ Opel เป็นรายที่สี่ในช่วงเย็นวานนี้

No comments:

Post a Comment