SETTRADE.COM - SAA Consensus หุ้นที่มีการ update วันนี้

Friday, February 28, 2014

PBV Ratio

ความรู้การลงทุนหุ้น [Price per Book Value: Part 2 Application]

[ตัดต่อบางส่วนมา....]

ขยายความต่อได้ก็คือ P/BVของบริษัทที่มากกว่า1 (ราคาหุ้นมีค่ามากกว่ามูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น) นั้นหมายความว่า มูลค่าของบริษัทในตลาดหุ้นมีมากกว่ามูลค่าของสินทรัพย์ที่บริษัทมีอยู่จริงเสียอีก ซึ่งส่วนใหญ่P/BVที่มากกว่า1มากๆจะเกิดขึ้นกับบริษัทที่มีผลประกอบการดี กำไรสูง และคนส่วนใหญ่เชื่อว่าบริษัทมีมูลค่ามากกว่าสินทรัพย์ของบริษัทที่จับต้องได้ มูลค่าที่เพิ่มขึ้นมานั้นอาจจะเกิดจาก ความสามารถในการจัดการของผู้บริหาร มูลค่าของยี่ห้อสินค้า หรือแม้กระทั่งอำนาจผูกขาดในตลาดที่บริษัททำธุรกิจอยู่ สิ่งเหล่านี้ทำให้ราคาทีคนยอมรับซื้อ-ขายกันในตลาดหุ้นนั้นสูงกว่ามูลค่าของสินทรัพย์ต่อหุ้นที่บริษัทมีอยู่มาก (ตัวอย่าง PTTEP ซึ่งมี ราคาปิดต่อมูลค่าตามบัญชีเท่ากับ 2.9)

P/BVของบริษัทที่ต่ำกว่า1 (ราคาหุ้นมีค่าต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น) นั้นหมายความว่า มูลค่าของบริษัทนั้นๆในตลาดหุ้นต่ำกว่ามูลค่าของสินทรัพย์ที่บริษัทมีอยู่จริง ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับบริษัททีมีผลประกอบการไม่ดี ขาดทุนบ่อย และคนส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่นในองกรค์นี้เท่าไรนัก มูลค่าที่คนยอมรับซื้อ-ขายกันในตลาดหุ้นจึงต่ำกว่าสินทรัพย์ที่บริษัทมี (ตัวอย่าง RCL ซึ่งมี ราคาปิดต่อมูลค่าตามบัญชีเท่ากับ 0.51)

ประยุกต์ใช้กับสถานการณปัจุบัน
แล้วตอนนี้เราอยู่ในวิกฤตหรือเปล่า? ถ้าวิกฤตทางการเมืองละไม่แน่ แต่วิกฤตทางเศรษฐกิจนี้เลิกคิดไปได้เลย เพราะสัญญาน และตัวเลขต่างๆบอกตรงกันว่าเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยกำลังฟื้นตัว เพราะฉะนั้น นักลงทุนส่วนใหญ่ควรมองเห็นว่าถ้าดูกันระยะยาว ยังไงๆตลาดก็ต้องดีขึ้น ถึงแม้จะมีเรื่องความไม่มั่นคงทางการเมือง แต่เมื่อเปรียบเทียบความรุนแรงระหว่างการเมืองกับสงครามโลกครั้งที่สอง จะเห็นได้ว่า การเมืองบ้านเรายังเบากว่าและสั้นกว่ามากนัก เมื่อคำนวนปัจจัยบวกลบกันแล้ว สถานการณ์ตลาดหุ้นถือว่าค่อนข้างปกติ และไม่ได้อยู่ในช่วงวิกฤตอะไร

แต่สิ่งทีน่าแปลกใจคือ หุ้นหลายๆตัวมีค่าP/BVน้อยกว่า1 (บางตัวถึงขนาดน้อยกว่า0.5) ซึ่งน่าแปลกใจว่าทำไมมันถึงunder-valuedได้มากขนาดนี้ ย้ำนะครับว่าP/BVน้อยกว่า1แปลว่า การซื้อหุ้นของบริษัทนั้นๆในตลาดหลักทรัพย์นั้นถูกกว่าการที่คุณไปลงทุนซื้อสินทรัพย์มาตั้งบริษัทใหม่เองเสียอีก ซึ่งอาจจะแปลความหมายได้ว่า ตลาดตีมูลค่าประสบการณ์ที่สั่งสมมา ทักษะการบริหาร และโอกาสในการทำกำไรของบริษัท เป็นติดลบ! ทำให้มูลค่าทางตลาดที่ถูกสะท้อนอยู่ในราคาหุ้นนั้น ต่ำกว่ามูลค่าสินทรัพย์ซึ่งเป็นแค่สิ่งของที่บริษัทเป็นเจ้าของเสียอีก ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วสิ่งนี้จะเกิดขึ้นกับบริษัทที่นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่นในผลประกอบการในอนาคต หรือ ภาพลักษณ์ในอดีตไม่ดีนัก

อย่างไรก็ตาม ถ้าเราเชื่อและมีเหตุผลชัดเจนว่าอนาคตของบริษัทนั้นๆจะดีขึ้นและมีกำไรแน่นอน แต่P/BVดันต่ำกว่า 1 เราก็รู้แล้วว่าหุ้นตัวนี้ราคาถูกไป ควรซื้อเก็บไว้ เพราะในฐานะบริษัทที่ทำกำไร หรือกำลังจะกำไร มูลค่าตลาดที่สะท้อนอยู่ในราคาหุ้นนั้นไม่ควรจะต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชี และถ้าต่ำกว่า ก็จะต่ำกว่าไม่ได้นานหนัก ยังไงๆก็ต้องปรับตัวขึ้นมาไม่ช้าก็เร็ว ไม่คุ้มเหรอครับที่ เราสามารถซื้อสินทรัพย์จากตลาดในราคาที่ถูกกว่าที่เจ้าของเขาซื้อมา แถมยังได้บุคคลากรที่มีประสบการณ์ และสิ่งที่บริษัทสั่งสมมาต่างๆนาๆ

สรุปแล้วก็คือ โดยทั่วไปราคาของหุ้นแต่ละบริษัทควรจะมีP/BVไม่ต่ำกว่า1 แต่ในยามที่เกิดวิกฤติหนักๆ ก็ไม่แปลกอะไรที่P/BVจะน้อยกว่าหนึ่งนั้นเอง

[ทำความเข้าใจเพิ่มเติม....]
ทำความเข้าใจ PBV Ratio

ความหมายของ PBV

PBV = ราคาหุ้นปัจจุบัน / มุลค่าทางบัญชี หรือ เราจะได้สูตรใหม่ ดังนี้
PBV = (Price x Earning) / (Equity x Earning)

จับคู่ใหม่ให้เห็นชัดๆคือ PBV = {Price / Earning) x {Earning / Equity) เราจะได้ สูตรใหม่ดังนี้
PBV = PE x ROE

สูตร นี้บอกเราว่าค่า PBV ถูกกำหนดด้วยค่าสองค่าคือ PE และ ROE (อัตราผลตอบแทนส่วนผู้ถือหุ้น) เรื่องPE ผมกล่าวไปแล้วเมื่อคราวที่แล้ว ส่วนROE นั้นค่านี้บอกเราว่าบริษัทเอาเงินทุนที่ได้จากผู้ถือหุ้นไปลงทุนแล้วสร้างผล ตอบแทนได้คุ้มค่าหรือไม่

คราว นี้เรามาดูว่า หุ้นที่ PBV มีค่าสูงค่าต่ำนั้นบ่งบอกอะไร บ้าง

(1) หุ้นที่ PBV ต่ำ PE สูง ROE ต่ำ เป็นหุ้นที่อาจมีมูลค่าเกินพื้นฐานไปแล้ว เพราะPEสูงแต่กลับ ให้ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้นต่ำ มันจึงมาสะท้อนออกที่ PBV

(2) หุ้นที่ PBV ต่ำ PE ต่ำ ROE สูง อาจเป็นหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง (สะท้อนออกทาง PE) หรืออาจจะมีมูลค่าต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน อันนี้ต้องเข้าไปดูรายละเอียดการดำเนินงานของบริษัท ถ้าธุรกิจดี ไม่เสี่ยงอย่างที่ตลาดคิดก็น่าลงทุนมาก

(3) หุ้นที่ PBV สูง PE สูง ROE ต่ำ หุ้นแบบนี้อันตรายมาก เพราะผลตอบแทนผู้ถือหุ้นต่ำ PE กลับสูง และเชื่อว่าต้องสูงมากถึงสามารถดึง PBV ให้สูงตามไป ด้วย

(4) หุ้นที่ PBV สูง PE ต่ำ ROE สูง หุ้นแบบนี้อาจเป็นหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง หรือความไม่แน่นอนของการทำกำไรไม่แน่นอน หรือบางครั้งราคาสูงเกินมูลค่าไปแล้วก็ได้ เพราะผลตอบแทนผู้ถือหุ้นสูงมาก แต่ PEกลับต่ำมาก การที่ROEสูงอาจเป็นเพราะมี หนี้สินมากกว่าทุนมากๆก็ได้ แน่นอนครับว่าหนี้สินมากๆก็นำมาซึ่งความเสี่ยงที่สูงตามไปด้วย

ทั้งหมดนี้เราต้องดูพื้นฐานทางธุรกิจประกอบกันเพื่อให้เป็นการยืน ยันซึ่งกันและกันว่า ทั้งธุรกิจซึ่งเป็นเหตุนั้นส่งผลให้ผลที่ได้ออกมาคืออัตราส่วนต่างๆนั้นออก มาในรูปแบบใด

Thursday, February 27, 2014

ทำไมหุ้นไทยไม่ไปไหน

ก็คิดอย่างนั้นเหมือนกัน :P

---------------------------------------------------------------------------

ทำไมหุ้นไทยไม่ไปไหน
โดย วิบูลย์ พึงประเสริฐ 6 มิถุนายน 2551

เท่าที่อ่านบทวิเคาระห์เกี่ยว กับตลาดหุ้นไทยมาหลายปี นักวิเคาระห์ดัชนีตลาดหุ้นไทยมักออกมาฟันธงว่าหุ้นไทยจะไป 1,000 จุดเป็นประจำทุกปี เป็นเวลาอย่างน้อย 4-5 ปีติดต่อกัน นับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 เป็นต้นมา ดัชีหุ้นไทยไม่เคยขึ้นไปสูงเกิน 1,000 จุดสักครั้งเดียว จุดที่ใกล้เคียงที่สุดคือในช่วงปลายปี 2547 ที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นขึ้นไปถึง 920 จุดก่อนที่เกิดปัญหาซับไพร์มต้นปีจนดัชนีร่วงลงไปถึง 720 จุดก่อนที่ปรับตัวกลับมาที่ 870 จุดในเดือนพฤษภาคม และลงมาเหลือ 800 จุดในปัจจุบันภายในเวลาสองสามอาทิตย์

เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นใน ประเทศอาเซียนที่เกิดวิกฤตค่าเงินด้วยกันแล้ว ดัชนีหุ้นประเทศอื่นๆในแถบนี้ต่างปรับตัวเกิน1,000 จุดไปนานแล้ว ไม่นับตลาดหุ้นจีนที่กำลังร้อนแรง หรือตลาดหุ้นเวียดนามที่เพิ่งเปิดดำเนินการต่างมีดัชนีแซงหน้าตลาดหุ้นไทยไป กันแทบทุกประเทศ ตัวอย่างเช่น ดัชนีตลาดหุ้นมาเลเซียในช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2541 ดัชนี ลดลงไปเหลือ 261 จุด ปัจจุบันดัชนีอยู่ที่ 1,253 จุด ดัชนีตลาดหุ้นอินโดนีเซียปีดที่ 2,362 จุด ดัชนีตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปัจจุบันอยู่ที่ 3,028 จุด ตลาดหุ้นเหล่านี้ต่างประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงปี 2540 ด้วยกันทั้งสิ้นและดัชนีลดลงไม่ต่างจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยสักเท่าไหร่ นัก แต่ปัจจุบันตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาคนี้ต่างให้ผลตอบแทนมากกว่าตลาดหุ้นไทยมาก รวมทั้งปรับตัวเกิน 1,000 จุด ขณะที่ตลาดหุ้นไทยยังขึ้นๆลงๆอยู่แถวๆ 700-900 จุดไม่ไปไหนเสียทีมาหลายปีแล้ว

เหตุใดตลาดหุ้นไทยถึงไม่สมารถ ปรับตัวเกิน 1,000 จุดเหมือนประเทศอื่นๆได้เสียที น่าจะมีสาเหตุที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์นี้ขึ้นได้ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

ข้อแรก สาหตุจากความไม่มั่นคงทางการเมือง ประเทศไทยผ่านการรัฐประหารครั้งล่าสุด เมื่อเดือนกันยายน 2549 นับเป็นเวลานานกว่าสิบปีที่เหตุการณ์นี้ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย การมีรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง รวมทั้งผู้บริหารประเทศมาจากการปฏิวัติรัฐประหารนั้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่นักลงทุนต่างประเทศให้ความเชื่อถือมากนัก เพราะประเทศไทยเป็นประเทศประชาธิปไตยมีรัฐบาลมาจากเลือกตั้งเป็นเวลานาน อยู่ๆทหารออกมาฉีกรัฐธรรมมูญแล้วตั้งตนเองปกครองประเทศ สำหรับประเทศในเอเซียนั้นคงหาได้ยาก ยกเว้นหากเกิดในประเทศด้อยพัฒนาอย่างในประเทศในอาฟริกาอาจไม่น่าแปลกใจนัก นอกเหนือจากนั้นการที่มีผู้คนออกมาประท้วงรัฐบาลบ่อยๆจนสามารถโค่นล้มรัฐบาล ได้ ดูเหมือนเหล่านักประท้วงหล่านั้นคิดว่าวิถีทางนี้เป็นสิ่งที่น่าปฏิบัติและ น่าจะได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงออกมาประท้วงกันอีกรอบเพื่อไล่รัฐบาลที่ตนเองไม่ชอบออกไป แต่ที่แปลกคือประเทศประชาธิปไตยอย่างสหรัฐอเมริกา มีคนไม่ชอบประธานาธิบดีบุชอยู่มากกว่าครึ่งประเทศ แต่ก็ไม่มีใครใช้วิธีการประท้วงและปฏิวัติรัฐประหารเพื่อไล่ประธานาธิบดีบุ ชแต่อย่างใด ประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมืองสามารถทำให้ดัชนีตลาดหุ้นเพิ่มขึ้นได้อย่าง ต่อเนื่อง

เหตุผลอีกข้อหนึ่ง คือ ตลาดหุ้นไทยไม่มีหุ้นใหญ่เข้าตลาดมาเป็นเวลานานหลายปี ตั้งแต่การแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตถูกศาลระงับไป ตลาดหุ้นไทยก็ไม่มีหุ้นจากบริษัทใหญ่ๆหรือรัฐวิสาหกิจขนาดแสนล้านเข้าระดม ทุนในตลาดหุ้นอีกเลย รวมทั้งการที่บริษัทเบียร์แห่งหนึ่งถูกประท้วงจนต้องไปจดทะเบียนในตลาดหุ้น สิงคโปร์แทน ทำให้มาร์เกตแคปของตลาดหุ้นไทยต้องอาศัยหุ้นบริษัทเดิมๆที่จดทะเบียนอยู่ ก่อนแล้วเป็นตัวผลักดันดัชนี ซึ่งถ้าหุ้นบริษัทเหล่านั้นไม่สามารถปรับตัวเพิ่มได้มาก ดัชนีหุ้นไทยก็ไม่สามารถไปไหนไกลได้

ดังนั้น การผลักดันให้ดัชนีหุ้นไทยเพิ่มขึ้นกว่า 1,000 จุดนั้นทำได้โดยแปรรูปรัฐวิสากิจขนาดใหญ่เข้าตลาดหุ้นอย่างโปร่งใส และเลิกวงจรอุบาทว์ทางการเมืองที่ประเทศไทยเผชิญอยู่เป็นเวลากว่า 50 ปี โดยการเลิกประท้วง เลิกปฏิวัติรัฐประหาร สนับสนุนรัฐบาลอยู่จนครบเทอม จากนั้นให้ประเทศเข้าสู่วงจรของการเลือกตั้งตามวิถีทางของประเทศที่เป็น ประชาธิปไตยที่แท้จริงเสียที

cr: ทำไมหุ้นไทยไม่ไปไหน

Saturday, February 8, 2014

หินก้อนใหญ่ในชีวิต


            วันหนึ่ง  นักบริหารเวลาไปเลคเชอร์ให้กับนักเรียนโรงเรียนพานิชยการแห่งหนึ่ง  

            “ พวกเรามาทำการทดลองเล็กๆ ชิ้นหนึ่ง “  เขาหยิบขวดปากกว้างที่บรรจุได้หนึ่งแกลลอนมาวางบนโต๊ะ  จากนั้น  หยิบก้อนหินขนาดเท่ากำปั้นวางเข้าไปในขวดก้อนแล้วก้อนเล่า  กระทั่งก้อนหินพูนถึงปากขวดและไม่สามารถวางลงได้อีก   เขาถามว่า  “ ขวดนี้เต็มหรือยัง “    นักเรียนทั้งหมดตอบว่า  “ เต็มแล้ว “

             เขาถามกลับไปว่า  “ จริงหรือ “    จากนั้นเขาก็ก้มลงหยิบถังบรรจุเศษหินจากใต้โต๊ะขึ้นมา เทใส่แล้วเขย่าๆ เพื่อให้เศษหินสามารถแทรกเข้าทุกช่องว่างของหิน    “ ตอนนี้ขวดเต็มแล้วหรือยัง “  ครั้งนี้นักเรียนบางคนเริ่มเข้าใจแล้ว

“   คงยังไม่เต็ม “   นักเรียนคนหนึ่งตอบ

“ ดีมาก  “  เขายื่นมือไปหยิบถังทรายใต้โต๊ะขึ้นมาอีก  แล้วเทใส่ขวดอย่างช้าๆ   เม็ดทรายถูกบรรจุเข้าไปในช่องว่างของหินทั้งหมด   เขาถามนักเรียนอีกครั้ง  “ ขวดนี้เต็มหรือยัง “

“ ยังไม่เต็ม “  นักเรียนทั้งหมดตอบเสียงดัง    จากนั้นเขาหยิบกาน้ำขึ้นมาแล้วเทใส่ขวดจนเสมอปากขวด    แล้วมองมาที่นักเรียน  “ ตัวอย่างครั้งนี้บอกอะไรกับเรา “

นักเรียนคนหนึ่งยกมือตอบว่า  “ มันบอกพวกเราว่า  ไม่ว่าตารางเวลาของคุณจะแน่นขนาดไไหน    แต่ถ้าคุณได้พยายาม  คุณก็สามารถทำอะไรได้มากขึ้นอีก “

“ ไม่ “  เขาตอบ  “ นั่นมันยังไม่ใช่หัวใจที่แท้จริงของมัน “   ตัวอย่างเช่นนี้บอกกับเราว่า  ถ้าคุณไม่เอาหินก้อนใหญ่ใส่เข้าในขวดก่อน   คุณก็จะไม่สามารถใส่มันเข้าไปได้อีกเลย    ฉะนั้น  อะไรคือ  “ หินก้อนใหญ่ “ ในชีวิตของคุณ  ความศรัทธา   ความรู้  ความฝันของคุณ   หรือว่าเหมือนกับฉัน  เผยแพร่   ถ่ายทอด  ไขข้อสงสัย  โปรดจำให้ดีว่าจะต้องจัดการกับ “ หินก้อนใหญ่ “  เหล่านี้ก่อน    มิฉะนั้นคุณก็อาจจะพลาดไปทั้งชีวิต  “

*** ช่องว่างเท่ากัน  การจัดลำดับวางสิ่งของที่ต่างกัน  ผลลับก็ต่างกันมาก  เวลาเท่ากัน  การจัดการลำดับการงานที่ต่างกัน  ผลงานก็ต่างกันลิบลับ  สำคัญที่สุด  “  หินก้อนใหญ่ “ จะต้องเรียงอันดับหนึ่งเสมอ

ซื้อทำไมตอนหุ้นลง?

ในช่วงเวลาที่ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจบอกว่าไม่ดี, เงินลงทุนของต่างชาติทยอยขายออกจากตลาดฯ ทำไมเมื่อถึงจุดๆหนึ่งจึงมีการเข้าไปซื้อ จะบอกว่าเงินปันผลดี? ผลประกอบการ/ธุรกิจมีความแข็งแกร่งกว่าตลาดและราคาลงมามากแล้ว? มันใช่เหตุผลจริงๆหรือที่ควรเข้าไปซื้อ ตามนักวิเคราะห์ หรือ VI คนดังแนะนำ?

สมมติสถานะการณ์ปัจจุบัน (Jan, 2014) สภาพเศรษฐกิจภายในประเทศที่ขาดแรงผลักดันจากภาครัฐ ความเชื่อมั่นนักลงทุน/ธุรกิจ/อุตสาหกรรมลดน้อยลง และความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงต่อเนื่อง หวังพึ่งพาการส่งออกจากการที่ค่าเงินบาทอ่อนตัว ที่อย่างน้อยก็ครึ่งปีที่จะสามารถออกจากสภาพสูญญากาศนี้ได้ ผลประกอบการธุรกิจของปี 2014 ที่จะหวังให้มีปันผลดีๆ หรือ capital gain จากราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้น คงทำได้ยาก ผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งปีคงไม่สูงนัก, แล้วซื้อทำไม? (เทียบกับความเสี่ยงที่ยังไม่รู้)

========================================================

กลยุทธ์การลงทุนในปีนี้ จะแตกต่างจากปีก่อนๆ ที่หากสถานะการณ์ดี การลงทุนก็ไม่ต้องทำอะไรมาก หรืออย่างน้อยที่สุด เมื่อลงทุนไปแล้ว ปล่อยให้เงินทำงานเอง ยังไงก็มีผลตอบแทนกลับมา มากน้อยตามโอกาสที่มี (Return > Risk)

แต่ถ้าปีที่ไม่มีความชัดเจน ไม่รู้ว่าจะดีหรือร้าย ขาดปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจทั้งภายใน-ภายนอกประเทศ สะท้อนความเสี่ยงในการลงทุนมีสูง การวางเงินไว้แล้วไม่สนใจ ไปหวังลุ้นเอาตอนสิ้นปี หรือรับเงินปันผล อาจทำให้ได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่าก็ได้ หรือแย่ที่สุดคือเงินต้นลดลง (ขาดทุน)

ปีนี้เน้นการถือเงินสดกับตัวเองมากขึ้น ลงทุนเมื่อมีความน่าสนใจเป็นพิเศษ เช่น การลงลึกๆ ถูกแบบเวอร์ๆ หาไม่ได้แล้วในราคานี้ภายใน 3ปี 5ปี หรือเน้นทำรอบ บ่อยๆ ผลตอบแทนต่อรอบไม่ต้องสูงนัก มองผลตอบแทนรวมในช่วงเวลาเดือน, ปี ให้ชนะค่าเฉลี่ย