SETTRADE.COM - SAA Consensus หุ้นที่มีการ update วันนี้

Friday, February 28, 2014

PBV Ratio

ความรู้การลงทุนหุ้น [Price per Book Value: Part 2 Application]

[ตัดต่อบางส่วนมา....]

ขยายความต่อได้ก็คือ P/BVของบริษัทที่มากกว่า1 (ราคาหุ้นมีค่ามากกว่ามูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น) นั้นหมายความว่า มูลค่าของบริษัทในตลาดหุ้นมีมากกว่ามูลค่าของสินทรัพย์ที่บริษัทมีอยู่จริงเสียอีก ซึ่งส่วนใหญ่P/BVที่มากกว่า1มากๆจะเกิดขึ้นกับบริษัทที่มีผลประกอบการดี กำไรสูง และคนส่วนใหญ่เชื่อว่าบริษัทมีมูลค่ามากกว่าสินทรัพย์ของบริษัทที่จับต้องได้ มูลค่าที่เพิ่มขึ้นมานั้นอาจจะเกิดจาก ความสามารถในการจัดการของผู้บริหาร มูลค่าของยี่ห้อสินค้า หรือแม้กระทั่งอำนาจผูกขาดในตลาดที่บริษัททำธุรกิจอยู่ สิ่งเหล่านี้ทำให้ราคาทีคนยอมรับซื้อ-ขายกันในตลาดหุ้นนั้นสูงกว่ามูลค่าของสินทรัพย์ต่อหุ้นที่บริษัทมีอยู่มาก (ตัวอย่าง PTTEP ซึ่งมี ราคาปิดต่อมูลค่าตามบัญชีเท่ากับ 2.9)

P/BVของบริษัทที่ต่ำกว่า1 (ราคาหุ้นมีค่าต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น) นั้นหมายความว่า มูลค่าของบริษัทนั้นๆในตลาดหุ้นต่ำกว่ามูลค่าของสินทรัพย์ที่บริษัทมีอยู่จริง ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับบริษัททีมีผลประกอบการไม่ดี ขาดทุนบ่อย และคนส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่นในองกรค์นี้เท่าไรนัก มูลค่าที่คนยอมรับซื้อ-ขายกันในตลาดหุ้นจึงต่ำกว่าสินทรัพย์ที่บริษัทมี (ตัวอย่าง RCL ซึ่งมี ราคาปิดต่อมูลค่าตามบัญชีเท่ากับ 0.51)

ประยุกต์ใช้กับสถานการณปัจุบัน
แล้วตอนนี้เราอยู่ในวิกฤตหรือเปล่า? ถ้าวิกฤตทางการเมืองละไม่แน่ แต่วิกฤตทางเศรษฐกิจนี้เลิกคิดไปได้เลย เพราะสัญญาน และตัวเลขต่างๆบอกตรงกันว่าเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยกำลังฟื้นตัว เพราะฉะนั้น นักลงทุนส่วนใหญ่ควรมองเห็นว่าถ้าดูกันระยะยาว ยังไงๆตลาดก็ต้องดีขึ้น ถึงแม้จะมีเรื่องความไม่มั่นคงทางการเมือง แต่เมื่อเปรียบเทียบความรุนแรงระหว่างการเมืองกับสงครามโลกครั้งที่สอง จะเห็นได้ว่า การเมืองบ้านเรายังเบากว่าและสั้นกว่ามากนัก เมื่อคำนวนปัจจัยบวกลบกันแล้ว สถานการณ์ตลาดหุ้นถือว่าค่อนข้างปกติ และไม่ได้อยู่ในช่วงวิกฤตอะไร

แต่สิ่งทีน่าแปลกใจคือ หุ้นหลายๆตัวมีค่าP/BVน้อยกว่า1 (บางตัวถึงขนาดน้อยกว่า0.5) ซึ่งน่าแปลกใจว่าทำไมมันถึงunder-valuedได้มากขนาดนี้ ย้ำนะครับว่าP/BVน้อยกว่า1แปลว่า การซื้อหุ้นของบริษัทนั้นๆในตลาดหลักทรัพย์นั้นถูกกว่าการที่คุณไปลงทุนซื้อสินทรัพย์มาตั้งบริษัทใหม่เองเสียอีก ซึ่งอาจจะแปลความหมายได้ว่า ตลาดตีมูลค่าประสบการณ์ที่สั่งสมมา ทักษะการบริหาร และโอกาสในการทำกำไรของบริษัท เป็นติดลบ! ทำให้มูลค่าทางตลาดที่ถูกสะท้อนอยู่ในราคาหุ้นนั้น ต่ำกว่ามูลค่าสินทรัพย์ซึ่งเป็นแค่สิ่งของที่บริษัทเป็นเจ้าของเสียอีก ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วสิ่งนี้จะเกิดขึ้นกับบริษัทที่นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่นในผลประกอบการในอนาคต หรือ ภาพลักษณ์ในอดีตไม่ดีนัก

อย่างไรก็ตาม ถ้าเราเชื่อและมีเหตุผลชัดเจนว่าอนาคตของบริษัทนั้นๆจะดีขึ้นและมีกำไรแน่นอน แต่P/BVดันต่ำกว่า 1 เราก็รู้แล้วว่าหุ้นตัวนี้ราคาถูกไป ควรซื้อเก็บไว้ เพราะในฐานะบริษัทที่ทำกำไร หรือกำลังจะกำไร มูลค่าตลาดที่สะท้อนอยู่ในราคาหุ้นนั้นไม่ควรจะต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชี และถ้าต่ำกว่า ก็จะต่ำกว่าไม่ได้นานหนัก ยังไงๆก็ต้องปรับตัวขึ้นมาไม่ช้าก็เร็ว ไม่คุ้มเหรอครับที่ เราสามารถซื้อสินทรัพย์จากตลาดในราคาที่ถูกกว่าที่เจ้าของเขาซื้อมา แถมยังได้บุคคลากรที่มีประสบการณ์ และสิ่งที่บริษัทสั่งสมมาต่างๆนาๆ

สรุปแล้วก็คือ โดยทั่วไปราคาของหุ้นแต่ละบริษัทควรจะมีP/BVไม่ต่ำกว่า1 แต่ในยามที่เกิดวิกฤติหนักๆ ก็ไม่แปลกอะไรที่P/BVจะน้อยกว่าหนึ่งนั้นเอง

[ทำความเข้าใจเพิ่มเติม....]
ทำความเข้าใจ PBV Ratio

ความหมายของ PBV

PBV = ราคาหุ้นปัจจุบัน / มุลค่าทางบัญชี หรือ เราจะได้สูตรใหม่ ดังนี้
PBV = (Price x Earning) / (Equity x Earning)

จับคู่ใหม่ให้เห็นชัดๆคือ PBV = {Price / Earning) x {Earning / Equity) เราจะได้ สูตรใหม่ดังนี้
PBV = PE x ROE

สูตร นี้บอกเราว่าค่า PBV ถูกกำหนดด้วยค่าสองค่าคือ PE และ ROE (อัตราผลตอบแทนส่วนผู้ถือหุ้น) เรื่องPE ผมกล่าวไปแล้วเมื่อคราวที่แล้ว ส่วนROE นั้นค่านี้บอกเราว่าบริษัทเอาเงินทุนที่ได้จากผู้ถือหุ้นไปลงทุนแล้วสร้างผล ตอบแทนได้คุ้มค่าหรือไม่

คราว นี้เรามาดูว่า หุ้นที่ PBV มีค่าสูงค่าต่ำนั้นบ่งบอกอะไร บ้าง

(1) หุ้นที่ PBV ต่ำ PE สูง ROE ต่ำ เป็นหุ้นที่อาจมีมูลค่าเกินพื้นฐานไปแล้ว เพราะPEสูงแต่กลับ ให้ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้นต่ำ มันจึงมาสะท้อนออกที่ PBV

(2) หุ้นที่ PBV ต่ำ PE ต่ำ ROE สูง อาจเป็นหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง (สะท้อนออกทาง PE) หรืออาจจะมีมูลค่าต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน อันนี้ต้องเข้าไปดูรายละเอียดการดำเนินงานของบริษัท ถ้าธุรกิจดี ไม่เสี่ยงอย่างที่ตลาดคิดก็น่าลงทุนมาก

(3) หุ้นที่ PBV สูง PE สูง ROE ต่ำ หุ้นแบบนี้อันตรายมาก เพราะผลตอบแทนผู้ถือหุ้นต่ำ PE กลับสูง และเชื่อว่าต้องสูงมากถึงสามารถดึง PBV ให้สูงตามไป ด้วย

(4) หุ้นที่ PBV สูง PE ต่ำ ROE สูง หุ้นแบบนี้อาจเป็นหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง หรือความไม่แน่นอนของการทำกำไรไม่แน่นอน หรือบางครั้งราคาสูงเกินมูลค่าไปแล้วก็ได้ เพราะผลตอบแทนผู้ถือหุ้นสูงมาก แต่ PEกลับต่ำมาก การที่ROEสูงอาจเป็นเพราะมี หนี้สินมากกว่าทุนมากๆก็ได้ แน่นอนครับว่าหนี้สินมากๆก็นำมาซึ่งความเสี่ยงที่สูงตามไปด้วย

ทั้งหมดนี้เราต้องดูพื้นฐานทางธุรกิจประกอบกันเพื่อให้เป็นการยืน ยันซึ่งกันและกันว่า ทั้งธุรกิจซึ่งเป็นเหตุนั้นส่งผลให้ผลที่ได้ออกมาคืออัตราส่วนต่างๆนั้นออก มาในรูปแบบใด

1 comment:

  1. สุดยอดหุ้นต่ำบุ๊คแรลลี่รับธุรกิจฟื้น (http://www.kaohoon.com/online/14000/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B9%8A%E0%B8%84-%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%9F%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99.htm;jsessionid=CBC4CC7510E334D34B0305D0723851B6)

    “ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ได้รวบรวมข้อมูลบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ข้อมูล ณ วันที่ 20 พ.ค.2554 และคัดเลือกหุ้นที่มีอัตราส่วน P/BV ต่ำกว่า1 เท่า เพื่อสะท้อนหุ้นที่ราคายังถูกเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าที่แท้จริงของบริษัท และเป็นเป้าหมายในการถูกเทคโอเวอร์กิจการ ซึ่งหุ้นเหล่านี้สามารถมองได้ 2 มุม คือ เป็นหุ้นที่อยู่ในช่วงขาลง ทำให้นักลงทุนไม่สนใจลงทุน หรืออาจเป็นหุ้นที่รอการฟื้นตัว และมีแนวโน้มที่จะกลับมาเติบโตได้ดีในอนาคต แต่นักลงทุนส่วนใหญ่ยังมองไม่เห็นคุณค่าดังกล่าว

    เนื่องจากอัตราส่วน P/BV ที่ต่ำกว่า 1 อาจสะท้อนให้เห็นว่าบริษัทดังกล่าวไม่คุ้มค่ากับการลงทุนเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทที่มีค่า P/BV มากกว่า 1 ซึ่งอาจเป็นผลมาจากนักลงทุนมองว่า สินทรัพย์นั้นมีมูลค่าสูงเกินจริง หรือมองว่าอัตราผลตอบแทนของบริษัทจากสินทรัพย์ที่มีอยู่นั้นค่อนข้างต่ำ ไม่ดึงดูดใจ

    หรืออีกนัยหนึ่ง อาจจะหมายถึงหุ้นบริษัทดังกล่าวราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง หรือเชื่อว่าสินทรัพย์ของบริษัทนั้นจะสามารถสร้างผลกำไรที่ดีในอนาคต และควรค่ากับการลงทุนเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ P/BV จะมีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) เนื่องจากบริษัทที่ให้ผลตอบแทนสูงจะดึงดูดใจให้นักลงทุนซื้อหุ้นดังกล่าวในราคาที่สูงขึ้น

    โดยอัตราส่วน P/BV ใช้ได้ดีกับการประเมินมูลค่าของกิจการที่ใช้ปัจจัยทุนเป็นตัวขับเคลื่อนกิจการ เช่น ด้านวิศวกรรม ยานยนต์ และธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น แต่ไม่เหมาะกับบริษัทที่มีหนี้สินจำนวนมาก เนื่องจากจะทำให้ส่วนของทุนค่อนข้างต่ำ และส่งผลให้อัตราส่วน P/BV ผิดเพี้ยนไปได้

    ReplyDelete