เทรนด์แฟชั่นและบันเทิงของสาธารณรัฐเกาหลี หรือ “เกาหลีใต้” กำลังครอบงำอย่างฟูฟ่องอยู่ในหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทยเราที่ตอนนี้หันไปทางไหนก็เจอแต่กระแส “เห่อเกาหลี” อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เมืองไทย-คนไทยเราน่าจะตามอย่างเกาหลีใต้มากกว่าเทรนด์แฟชั่นและ บันเทิงที่ฉาบฉวย ก็คือการ “พัฒนาประเทศ” เป็นการพัฒนาด้วย “วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี” ที่ช่วยให้เกาหลีใต้ “ก้าวกระโดด” ล้ำหน้าไทย...
ทั้งนี้ เมื่อต้นเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ ทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ สวทช. นำโดย ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วย รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการ สวทช. และคณะ ได้เดินทางเยือนประเทศเกาหลีใต้
วัตถุประสงค์หลักคือเพื่อศึกษาดูความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านต่าง ๆ ทั้งด้าน อาหาร, วิศวกรรม, ชีวภาพ เพื่อนำมาเป็นแนวทางปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย รวมถึงสามารถใช้เป็นแนวทางในการเจรจาความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีระหว่างไทย-เกาหลีใต้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศไทย ซึ่งนี่ก็ถือเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจของผู้ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย เรา
เกาหลีใต้เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับการยอมรับว่า เป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และประสบความสำเร็จอย่างสูงในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนาประเทศให้ ก้าวหน้า ซึ่งจากในอดีตที่เคยตามหลัง ประเทศไทยเราอยู่หลายก้าว ปัจจุบันเกาหลีใต้ได้แซงหน้าไทยไปไกลแล้ว !!
ด้วยเวลาเพียงไม่ถึง 30 ปี เกาหลีใต้สามารถพัฒนาประเทศจนอยู่ในระดับแนวหน้าของเอเชีย โดยการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ หลัก ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาแบบก้าวกระโดด และรวดเร็วมาก เพราะฉะนั้นการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นแนวทางพัฒนาประเทศจึงเป็น เรื่องที่น่าคิด-น่าทำสำหรับประเทศไทย
กล่าวสำหรับการไปเยือนเกาหลีใต้ของฝ่ายที่เกี่ยวข้องทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย เมื่อเร็ว ๆ นี้นั้น จุดหลัก ๆ ที่มีการไปศึกษาดูงาน ศึกษาแนวทาง ก็มีอาทิ... สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศเกาหลีใต้ หรือเคไอเอสที (Korea Institute Of Science and Technology : KIST) ซึ่งเป็นสถาบันที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1966 ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุคของประธานาธิบดี ปาร์ค จุง ฮี ผู้ซึ่งเล็งเห็น ให้ความสำคัญ และมีความเชื่อว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นแนวทางหลักในการสร้างชาติที่ สำคัญ
สถาบันแห่งนี้เป็นศูนย์กลางในการทำการวิจัยในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้าน อาหาร, ชีวภาพ, เคมี, ไบโอเทค, วิศวกรรม ซึ่งผลงานวิจัยที่ได้ถูกนำไปใช้ต่อยอดเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศ นอกจากนั้นทางสถาบันแหง่นี้ยังมีการแยกขยายสถาบันย่อยออกไปเป็น “ศูนย์วิจัยเฉพาะทาง” โดยตรง โดยมีการลงทุนร่วมกันระหว่างเอกชนและรัฐบาล ทำให้ได้งานวิจัยที่ตรงเป้า และได้มาตรฐานมากขึ้น ที่สำคัญทำให้งานวิจัยต่อยอดได้เร็วยิ่งขึ้น
ศูนย์วิจัยด้านอาหารของประเทศเกาหลีใต้ หรือเคเอฟอาร์ไอ (Korea Food Research Instiute : KFRI) หน่วยงานหนึ่งที่แตกออกมาจากเคไอเอสที ก็เป็นอีกจุดที่คณะจากไทยไปศึกษาดูงาน โดยเป็นศูนย์วิจัยทางด้านอาหารเพื่อการค้าโดยตรง มีการวิจัยอาหารที่มีอยู่ในประเทศ นำมาทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม
นอกจากนี้ เกาหลีใต้ยังมีหน่วยงานหรือไบโอเซ็นเตอร์ที่ทำวิจัยเรื่องยา อาหาร เคมี (Global inspiration Gyeonggi Bio-Center) ที่เป็นทั้งหน่วยงานวิจัย และเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่คิดค้นวิจัยขึ้นมาได้ โดยดำเนิน การในลักษณะเป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างรัฐบาลและเอกชนของเกาหลีใต้
“ในยุคประธานาธิบดี ปาร์ค จุง ฮี ที่เชื่อมั่นว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถนำมาใช้พัฒนาประเทศให้ก้าว ขึ้นสู่ความสำเร็จและสู้กับประเทศอื่น ๆ ได้ เป้าหมายแรกของท่านก็คือการดึงบุคลากรกลับมาช่วยประเทศ ยุคนั้นมีการดึงบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์ของเกาหลีใต้ที่ไปอยู่ต่างประเทศ ไม่ว่าจะในอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น กลับมาช่วยพัฒนาประเทศ และในการทำงานของบุคลากรเหล่านี้ ในช่วงแรก ๆ นั้นประธานาธิบดีจะมาเยี่ยมให้กำลังใจแทบทุกเดือน ทำให้นักวิทยาศาสตร์มีกำลังใจ เป็นแรงผลักดันให้เกิดความตั้งใจอย่างจริงจัง” ...เป็นการระบุของหนึ่งในทีมก่อตั้งสถาบันเคไอเอสที
พร้อมกันนี้ยังมีการระบุด้วยว่า... ในอดีตการวิจัยพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเกาหลีใต้ไม่ได้เริ่ม จากอุตสาหกรรมหนัก แต่จะทำวิจัยในด้านเคมี พวก น้ำตาล, ปุ๋ย, ยาสีฟัน เป็นต้น จากนั้นจึงค่อย ๆ เริ่มพัฒนามาวิจัยด้านอุตสาหกรรมหนัก อย่างพวก เหล็ก, ต่อเรือ, รถยนต์ ซึ่งในการพัฒนาประเทศด้วยวิธีนี้ ทำไปได้ประมาณ 15-20 ปี ก็พัฒนาได้มาก แม้ว่าจะยังตามประเทศอื่นอยู่บ้าง แต่ระยะห่างก็ลดลง ถือเป็นที่น่าพอใจ
ล่าสุดไทยเรากำลังสนใจจะพัฒนาประเทศโดยใช้แนวทางตามรอยเกาหลีใต้ ประเทศที่มีขนาดพื้นที่เพียง 1 ใน 5 เมื่อเทียบกับไทย มีประชากรราว 48.8 ล้านคน (มี.ค. 2549) น้อยกว่าไทยสิบกว่าล้านคน แต่ไทยก็ขาดดุลการค้ามาตลอด ซึ่งก็น่าติดตามความคืบหน้า และทาง ดร.คุณหญิงกัลยา รมว. วิทยาศาสตร์ฯ ก็ระบุไว้ว่า.....
“เกาหลีใต้ถือเป็นบทเรียนของไทยเราได้ จะเป็นประโยชน์มากหากไทยได้เรียนรู้จากเขาให้ลึกซึ้ง กรณีของเกาหลีใต้เป็นข้อพิสูจน์ที่ดีว่า แม้จะเป็นเพียงประเทศเล็ก ๆ ประเทศหนึ่งเท่านั้น แต่เมื่อให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจริงจัง ก็สามารถจะสร้างประเทศให้เจริญรุ่งเรืองได้ !!”.
เดลินิวส์ : 27 เมษายน, 2552
Tuesday, April 28, 2009
Wednesday, April 22, 2009
ชี้กลยุทธ์เชิงรุกกระตุ้นกำลังซื้อ แตกต่างอย่างคุ้มค่า-ราคาถูกหรือนวัตกรรม
หลัง ผ่านพ้นไตรมาส 1 ของ ปี 2552 (มกราคม-มีนาคม) ดูเหมือนว่าผลประกอบการของหลายบริษัทที่ออกมาบ่งบอกถึงอาการที่ค่อนข้าง สาหัส เนื่องจากยอดขายตกต่ำลงกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก หลายคนพยายามมองหาแสงสว่างปลายอุโมงค์ที่ค่อนข้าง ริบหรี่ ดังนั้น "ประชาชาติธุรกิจ" จึงได้เรียบเรียงบางส่วนบางตอนของงานเสวนาเรื่อง "บริหารธุรกิจอย่างไรให้ธุรกิจอยู่รอด ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2009" ซึ่งคณะทำงานโครงการโลจิสติกส์คลินิก เพื่อพัฒนา ขีดความสามารถของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) จัดขึ้นอย่างน่าสนใจมาให้ไว้เป็นแนวทางเชิงรุก
เริ่มจาก นายกิตติพจน์ ศิริปุณย์ ผู้จัดการฝ่ายบริหารการจัดซื้อ บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของแบรนด์ เคเอฟซี และพิซซ่า ฮัท ได้แนะนำว่า ตอนนี้ผู้บริโภคจะมีการระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น อาจมีการชะลอการซื้อเพื่อรอดูสถานการณ์ก่อน ต่อมาผู้บริโภคจะพิจารณาสิ่งที่คุ้มค่า หรือ value for money ยกตัวอย่าง ช่วงปีใหม่เคเอฟซีออกเมนูพวกชุดสุดคุ้มจะขายดี เพราะช่วงปีใหม่คนอยู่บ้าน มีการใช้บริการดีลิเวอรี่ โดยเมนูที่ผู้บริโภคเลือกจะพิจารณาราคาต่อชิ้นแล้วว่าคุ้มที่สุด ดังนั้นผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าต้องพิจารณาเรื่องนี้ด้วย
"เวลา ห้างสรรพสินค้ามีโปรโมชั่นลดราคา คนนิยมซื้อไปตุนไว้ที่บ้าน จนบางครั้งแพงกว่าปกติ แต่นิสัยคนไทยถูกแล้วซื้อไว้ก่อน นอกจากนี้ต้องมีกลยุทธ์บางสิ่งไปกระตุ้นให้ผู้บริโภคอยากลอง เช่น ปกติมีแต่ไก่ทอด ปลายปีออกไก่อบชีส รสชาติอร่อยหรือเปล่าไม่รู้ แต่การที่ไม่เหมือนเดิม ทำให้คนอยากลอง โดยการทำกลยุทธ์มี 2 กรณี ถ้าไม่ผลิตสินค้าราคาต่ำ ต้อง แตกต่างด้วยนวัตกรรม ต้องเลือกว่าจะเป็นผู้ให้บริการที่ถูกที่สุด คุ้มค่าที่สุด หรือจะมีความแตกต่าง หรือจะมีทั้ง 2 อย่าง"
เมื่อกลับมาพิจารณาใน ส่วนของผู้ประกอบการ ต้องพิจารณาเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน โดยในเรื่องการลดต้นทุน ต้องมองระยะยาว ยกตัวอย่างเรื่องการจัดซื้อ เมื่อผู้บริหารกำหนดเป้าหมายมา ฝ่ายจัดซื้อส่วนใหญ่ จะพยายามไปหาซื้อของที่ราคาถูก แต่ตามหลักการของการจัดซื้อไม่ใช่วิธีการ ที่ถูกต้อง เพราะอาจมีซัพพลายเออร์เข้าไปเสนอของราคาถูกให้ แต่คุณภาพ ความ ต่อเนื่อง และการบริการ อาจจะไม่ดี
"ผมพบว่าในยามที่เดือดร้อน เราควรพยายามสร้างความสัมพันธ์กับพันธมิตรที่ทำธุรกิจกับเรามาอย่างยาวนาน ไม่ทิ้งกันเวลามีปัญหา แม้บางครั้งราคาอาจจะสูงกว่าคนอื่น แต่ให้ใช้วิธีการเจรจากับพันธมิตรรายนั้นๆ ว่า หากจะลดต้นทุนตรงนี้ มีวิธีการใดบ้างที่ทำให้ต้นทุนลดลง ซึ่งมักมีทางออกเสมอ อีกประการหนึ่งที่อยากจะฝาก คือยกตัวอย่างบริษัทผมปีนี้เศรษฐกิจไม่ดี แต่เราเลือกที่จะลงทุน เปิดเป็นร้อยสาขา เป็นเรื่องของกระบวน การที่ทำได้ แต่เรื่องซอฟต์แวร์ปีนี้อาจ ไม่ลงทุน เพราะเศรษฐกิจไม่ดี
เรื่อง สุดท้าย ในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพ มีความจำเป็นมาก ต้องใช้เงินทุกบาทให้คุ้มค่าที่สุด เพราะทุกบริษัทไม่ว่าใหญ่หรือเล็กต้องเริ่มลดต้นทุนอย่างจริงจัง เพิ่มประสิทธิภาพอย่างจริงจัง ไม่ว่าวิธีไหนก็ตาม"
ขณะที่ นางอภิญญา โรจนพานิช หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญในโครงการโลจิสติกส์คลินิก อดีตผู้บริหารด้านโลจิสติกส์ บริษัท 3 เอ็ม ประเทศไทย กล่าวว่า ตอนนี้ปัญหาเศรษฐกิจเกิดขึ้นค่อนข้างหนัก การทำธุรกิจจะพิจารณาไปที่การขึ้นราคา หรือการเพิ่มยอดขายนั้นไม่ต้องคาดหวัง แต่สิ่งที่ทำได้ คือหันมาลดต้นทุนโลจิสติกส์ กำไรจะเพิ่มขึ้นมาอัตโนมัติ ต้นทุนโลจิสติกส์ที่ควรมองลำดับแรกคือต้นทุนของสินค้าคงคลัง โดยหันมาพิจารณาบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ของที่ขายไม่ได้ เปลี่ยนไปเป็นเงินเพื่อใช้หมุนเวียน
โดยผู้ประกอบการต้องดำเนินการ 3 ประการไปพร้อมกัน ประการแรก การบริหารให้มีประสิทธิภาพ ต้องมองให้ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ปัญหาที่พบบ่อยในเอสเอ็มอี คือมีสินค้าคงคลังมาก การแก้ไขเริ่มที่การพยากรณ์ก่อน ถ้าไม่มีต้องทำให้มีเป็นลำดับแรก ถ้ามีอยู่แล้ว ต้องเข้าไปดูว่ามีประสิทธิภาพ แม่นยำ เพียงใด ประสิทธิภาพคือซื้อมาแล้วสามารถขายได้เป็นเงินกลับคืนมาใน เวลาอันรวดเร็ว
จาก นั้นค่อยมาดูว่าจะมาวางแผนการ สั่งซื้ออย่างไร เก็บสินค้าในระดับใดจึงเหมาะสม เป็นลำดับไปอย่างนี้ ต้องไม่มากไม่น้อยจนเกินไป แต่ต้องไม่ลืมว่าการสนองความต้องการสูงสุดของลูกค้าจำเป็นต้องรักษาตราชั่ง ทั้ง 2 ข้างให้ดี
ประการที่สอง คือความพร้อมขององค์กร แต่ละแผนกต้องมองหาคนที่ดูแลสินค้าคงคลัง เพราะบางครั้งไปฝากไว้ที่ฝ่ายจัดซื้อ บางครั้งฝากไว้ที่คลังสินค้า ฝากไว้ที่ฝ่ายขาย ดังนั้นต้องจัดบุคลากรให้มารับ ผิดชอบเรื่องสินค้าคงคลังให้ชัดเจน เพราะคือเงินก้อนใหญ่ที่เอามาลงทุนซื้อสินค้ามาขาย จากนั้นไปดูว่าระบบการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับการมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ราคาสูง แต่ขึ้นอยู่กับการสามารถดึงเอาข้อมูลที่มีอยู่ออกมาวิเคราะห์ ประเมิน ผลออกมาได้อย่างต่อเนื่อง
ประการสุดท้าย เรื่องกระบวนการทำงาน ตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำถูกต้องสมบูรณ์เพียงใด หากต้นน้ำดำเนินการไม่ถูก ปลายน้ำก็รวนเรไปหมด เพราะฉะนั้นเมื่อแก้ไขเรื่องการพยากรณ์ แล้วถึงจะมาพิจารณาเรื่องการบริหารสินค้าคงคลัง สำหรับปัญหาเรื่องสต๊อกสินค้าไม่ตรงกันคือปัญหาใหญ่
ยกตัวอย่างใน ระบบบันทึกระบุมี 10 ชิ้น แต่ของจริงมีอยู่ 5 ชิ้น จึงต้องไปดูในเรื่องการบริหารการจัดการในเรื่องคำสั่งซื้ออีก ทั้งหมดนี้คือสูตรสำเร็จรูปในการลดต้นทุนสินค้าคงคลัง จะทำให้สามารถลดต้นทุน โลจิสติกส์ ทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้น
เริ่มจาก นายกิตติพจน์ ศิริปุณย์ ผู้จัดการฝ่ายบริหารการจัดซื้อ บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของแบรนด์ เคเอฟซี และพิซซ่า ฮัท ได้แนะนำว่า ตอนนี้ผู้บริโภคจะมีการระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น อาจมีการชะลอการซื้อเพื่อรอดูสถานการณ์ก่อน ต่อมาผู้บริโภคจะพิจารณาสิ่งที่คุ้มค่า หรือ value for money ยกตัวอย่าง ช่วงปีใหม่เคเอฟซีออกเมนูพวกชุดสุดคุ้มจะขายดี เพราะช่วงปีใหม่คนอยู่บ้าน มีการใช้บริการดีลิเวอรี่ โดยเมนูที่ผู้บริโภคเลือกจะพิจารณาราคาต่อชิ้นแล้วว่าคุ้มที่สุด ดังนั้นผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าต้องพิจารณาเรื่องนี้ด้วย
"เวลา ห้างสรรพสินค้ามีโปรโมชั่นลดราคา คนนิยมซื้อไปตุนไว้ที่บ้าน จนบางครั้งแพงกว่าปกติ แต่นิสัยคนไทยถูกแล้วซื้อไว้ก่อน นอกจากนี้ต้องมีกลยุทธ์บางสิ่งไปกระตุ้นให้ผู้บริโภคอยากลอง เช่น ปกติมีแต่ไก่ทอด ปลายปีออกไก่อบชีส รสชาติอร่อยหรือเปล่าไม่รู้ แต่การที่ไม่เหมือนเดิม ทำให้คนอยากลอง โดยการทำกลยุทธ์มี 2 กรณี ถ้าไม่ผลิตสินค้าราคาต่ำ ต้อง แตกต่างด้วยนวัตกรรม ต้องเลือกว่าจะเป็นผู้ให้บริการที่ถูกที่สุด คุ้มค่าที่สุด หรือจะมีความแตกต่าง หรือจะมีทั้ง 2 อย่าง"
เมื่อกลับมาพิจารณาใน ส่วนของผู้ประกอบการ ต้องพิจารณาเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน โดยในเรื่องการลดต้นทุน ต้องมองระยะยาว ยกตัวอย่างเรื่องการจัดซื้อ เมื่อผู้บริหารกำหนดเป้าหมายมา ฝ่ายจัดซื้อส่วนใหญ่ จะพยายามไปหาซื้อของที่ราคาถูก แต่ตามหลักการของการจัดซื้อไม่ใช่วิธีการ ที่ถูกต้อง เพราะอาจมีซัพพลายเออร์เข้าไปเสนอของราคาถูกให้ แต่คุณภาพ ความ ต่อเนื่อง และการบริการ อาจจะไม่ดี
"ผมพบว่าในยามที่เดือดร้อน เราควรพยายามสร้างความสัมพันธ์กับพันธมิตรที่ทำธุรกิจกับเรามาอย่างยาวนาน ไม่ทิ้งกันเวลามีปัญหา แม้บางครั้งราคาอาจจะสูงกว่าคนอื่น แต่ให้ใช้วิธีการเจรจากับพันธมิตรรายนั้นๆ ว่า หากจะลดต้นทุนตรงนี้ มีวิธีการใดบ้างที่ทำให้ต้นทุนลดลง ซึ่งมักมีทางออกเสมอ อีกประการหนึ่งที่อยากจะฝาก คือยกตัวอย่างบริษัทผมปีนี้เศรษฐกิจไม่ดี แต่เราเลือกที่จะลงทุน เปิดเป็นร้อยสาขา เป็นเรื่องของกระบวน การที่ทำได้ แต่เรื่องซอฟต์แวร์ปีนี้อาจ ไม่ลงทุน เพราะเศรษฐกิจไม่ดี
เรื่อง สุดท้าย ในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพ มีความจำเป็นมาก ต้องใช้เงินทุกบาทให้คุ้มค่าที่สุด เพราะทุกบริษัทไม่ว่าใหญ่หรือเล็กต้องเริ่มลดต้นทุนอย่างจริงจัง เพิ่มประสิทธิภาพอย่างจริงจัง ไม่ว่าวิธีไหนก็ตาม"
ขณะที่ นางอภิญญา โรจนพานิช หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญในโครงการโลจิสติกส์คลินิก อดีตผู้บริหารด้านโลจิสติกส์ บริษัท 3 เอ็ม ประเทศไทย กล่าวว่า ตอนนี้ปัญหาเศรษฐกิจเกิดขึ้นค่อนข้างหนัก การทำธุรกิจจะพิจารณาไปที่การขึ้นราคา หรือการเพิ่มยอดขายนั้นไม่ต้องคาดหวัง แต่สิ่งที่ทำได้ คือหันมาลดต้นทุนโลจิสติกส์ กำไรจะเพิ่มขึ้นมาอัตโนมัติ ต้นทุนโลจิสติกส์ที่ควรมองลำดับแรกคือต้นทุนของสินค้าคงคลัง โดยหันมาพิจารณาบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ของที่ขายไม่ได้ เปลี่ยนไปเป็นเงินเพื่อใช้หมุนเวียน
โดยผู้ประกอบการต้องดำเนินการ 3 ประการไปพร้อมกัน ประการแรก การบริหารให้มีประสิทธิภาพ ต้องมองให้ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ปัญหาที่พบบ่อยในเอสเอ็มอี คือมีสินค้าคงคลังมาก การแก้ไขเริ่มที่การพยากรณ์ก่อน ถ้าไม่มีต้องทำให้มีเป็นลำดับแรก ถ้ามีอยู่แล้ว ต้องเข้าไปดูว่ามีประสิทธิภาพ แม่นยำ เพียงใด ประสิทธิภาพคือซื้อมาแล้วสามารถขายได้เป็นเงินกลับคืนมาใน เวลาอันรวดเร็ว
จาก นั้นค่อยมาดูว่าจะมาวางแผนการ สั่งซื้ออย่างไร เก็บสินค้าในระดับใดจึงเหมาะสม เป็นลำดับไปอย่างนี้ ต้องไม่มากไม่น้อยจนเกินไป แต่ต้องไม่ลืมว่าการสนองความต้องการสูงสุดของลูกค้าจำเป็นต้องรักษาตราชั่ง ทั้ง 2 ข้างให้ดี
ประการที่สอง คือความพร้อมขององค์กร แต่ละแผนกต้องมองหาคนที่ดูแลสินค้าคงคลัง เพราะบางครั้งไปฝากไว้ที่ฝ่ายจัดซื้อ บางครั้งฝากไว้ที่คลังสินค้า ฝากไว้ที่ฝ่ายขาย ดังนั้นต้องจัดบุคลากรให้มารับ ผิดชอบเรื่องสินค้าคงคลังให้ชัดเจน เพราะคือเงินก้อนใหญ่ที่เอามาลงทุนซื้อสินค้ามาขาย จากนั้นไปดูว่าระบบการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับการมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ราคาสูง แต่ขึ้นอยู่กับการสามารถดึงเอาข้อมูลที่มีอยู่ออกมาวิเคราะห์ ประเมิน ผลออกมาได้อย่างต่อเนื่อง
ประการสุดท้าย เรื่องกระบวนการทำงาน ตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำถูกต้องสมบูรณ์เพียงใด หากต้นน้ำดำเนินการไม่ถูก ปลายน้ำก็รวนเรไปหมด เพราะฉะนั้นเมื่อแก้ไขเรื่องการพยากรณ์ แล้วถึงจะมาพิจารณาเรื่องการบริหารสินค้าคงคลัง สำหรับปัญหาเรื่องสต๊อกสินค้าไม่ตรงกันคือปัญหาใหญ่
ยกตัวอย่างใน ระบบบันทึกระบุมี 10 ชิ้น แต่ของจริงมีอยู่ 5 ชิ้น จึงต้องไปดูในเรื่องการบริหารการจัดการในเรื่องคำสั่งซื้ออีก ทั้งหมดนี้คือสูตรสำเร็จรูปในการลดต้นทุนสินค้าคงคลัง จะทำให้สามารถลดต้นทุน โลจิสติกส์ ทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้น
Tuesday, April 21, 2009
Dubai - the bigget man-made island #2
เพิ่มเติมจากครั้งที่ผ่านมา แต่คราวนี้จะเน้นในการสร้างเกาะ ตั้งแต่การถมทะเล การอัดพื้นเกลี่ยทราย เพื่อสร้าง The palm island ซึ่งมันทำให้คิดต่อไปเกี่ยวกับภาวะของโลกได้ พายุ คลื่นทะเล (ทสึนามิ) แผ่นดินไหว จะมีผลอย่างไรกับสิ่งก่อสร้างจากน้ำมือของมนุษย์ที่ท้าทายธรรมชาติ ขนาดจีนที่มีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุของภัยธรรมชาติต่างๆ เลย :P
พลิกตำราหากลยุทธ์ตลาด ฝ่าวิกฤตบนปัจจัยเหนือควบคุม
ผลจากวิกฤตการเงินสหรัฐหรือพิษแฮมเบอร์เกอร์ ที่ขยายผลไปทั่วโลก ทำให้เกิดคำถามกับนักเศรษฐศาสตร์มากขึ้นว่า
ที่ ผ่านมานักเศรษฐศาสตร์ไม่สามารถคาดการณ์หรือหาวิธีแก้เพื่อไม่ให้เกิดหรือ บรรเทาวิกฤตใหญ่ๆ ของโลกให้กระทบน้อยลงได้ นักเศรษฐศาสตร์ทำได้เพียงตามอธิบายเรื่องที่เกิดขึ้น หลังวิกฤตเกิดขึ้นและกระทบคนไปทั่วแล้ว
จากคำถามดังกล่าวสะท้อนมาถึงนักการตลาด ผู้ติดตามพฤติกรรมการบริโภคของคน ซึ่งนักการตลาดชอบพูดว่าผู้บริโภคคือพระเจ้า หรือคอนซูเมอร์อีสเดอะคิงส์ ว่าจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เพื่อจะคิดสินค้า-บริการออกมาสนอง ว่าใน ส่วนของนักการตลาด ทำไมถึงไม่สามารถ คาดการณ์ผู้บริโภคไม่ให้ช็อก! ในการใช้จ่าย
บนคำถามดังกล่าวนักการตลาดส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า เพราะมีปัจจัยเหนือการควบคุม เช่น วิกฤตของโลก หรือความรุนแรงทางการเมือง ซึ่งช่วงนี้มีการเปลี่ยนแปลงเกือบทุกวัน แต่ถ้ามองเฉพาะปัจจัยทางธุรกิจที่ควบคุมได้ นักการตลาดบอกว่า กลยุทธ์ต่างๆ ที่กำหนดขึ้นมายังใช้ได้
และบนโจทย์จากวิกฤตครั้งนี้ ผศ.ดร.ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ ที่ปรึกษาและนักกลยุทธ์ด้านสื่อสารการตลาดหลายองค์กร ให้ความเห็นว่าจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ระวังการใช้จ่าย ราคาเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อในหลายสินค้า กลยุทธ์ “3 S” หรือทริปเปิลเอส สตราติจิก น่าจะเหมาะในการทำการตลาด
สำหรับ S ตัวแรก คือ เซล โปรโมชัน (Sale Promotion) เครื่องมือการทำตลาดหลักที่ ออกมาช่วยกระตุ้นยอดขายให้เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ รวมถึงยังเข้ามาช่วยบรรเทาในเรื่องของการบริหารสินค้าคงคลัง หรือสต๊อกสินค้าให้ระบายออกไปอย่างชะงัด เห็นได้ชัดในช่วงนี้ที่เจ้าของสินค้าประเภทต่างๆ หันมาโหมแคมเปญโปรโมชันมากขึ้น
ส่วน S ตัวที่ 2 คือ ซินเนอร์ยี มาร์เก็ตติง (Synergy Marketing) การผสานกิจกรรมส่งเสริมการขายและการทำตลาดระหว่างสินค้าที่มีกลุ่มเป้าหมาย และตำแหน่งสินค้าอยู่ในระดับเดียวกัน เพื่อ ลดต้นทุนดำเนินการร่วมกัน แต่ได้ยอดขายเป็นไปตามเป้าที่วางไว้ของแต่ละสินค้าในที่สุด อย่างช่วงที่ผ่านมาเกิดความร่วมมือทางการตลาดระหว่างธุรกิจประกันภัยและ ธุรกิจบันเทิง เป็นต้น
และ S ตัวสุดท้าย คือ โซเชียล เน็ตเวิร์กกิง (Social Networking) ด้วยการให้ผู้บริโภค ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมตรงกับสินค้าหรือบริการนั้นๆ ให้ได้มากสุด ในลักษณะการสร้างประสบการณ์สินค้า ร่วมกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่ตรงจุดของตัวเองมากขึ้น ซึ่งต่อจากนี้ไปจะเห็นได้ว่า กิจกรรมตลาด ณ จุดขาย หรือพีโอพี จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เจ้าของสินค้าจะเลือกเม็ดเงินการทำตลาดไปยังรูปแบบการโฆษณาแบบไม่ผ่านสื่อ (บีโลว์เดอะไลน์) มากขึ้น
ผศ.ดร.ธีรพันธ์ ย้ำว่ากลยุทธ์ “ทริปเปิลเอส” ยังสามารถนำไปปรับใช้ได้กับการบริหารจัดการการทำงานระหว่างภาครัฐ หรือ “จีทูจี” ได้ด้วยเช่นกัน เช่น จากความเสียหายที่เกิดขึ้นของการเมืองที่ผ่านมา กระทบยังภาคธุรกิจท่องเที่ยว จุดนี้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาอาจร่วมมือกับหน่วยงานรัฐอื่นๆ เช่น กระทรวงวัฒนธรรม หรืออื่นๆ เพื่อคิดหาโซลูชันพลิกเกมสู้วิกฤตนี้ร่วมกัน เป็นต้น
ขณะที่ ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด มองว่าเจ้าของสินค้าหรือนักการตลาดควรนำ “จิตวิทยาการตลาด” มาใช้เพื่อกระตุ้นอารมณ์กำลังซื้อมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของราคาและกิจกรรมส่งเสริมการขาย (Price & Promotion) ที่ต้องแรง และปลุกเร้าอารมณ์การจับจ่าย ซึ่งวิธีนี้อาจเหมาะกับกำลังซื้อ ผู้บริโภคทั่วไป
ขณะเดียวกันยังมีอีกหนึ่งกลุ่มลูกค้าสำคัญ คือ กลุ่มที่มีรายได้สูงและไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจรอบนี้ ซึ่งเจ้าของสินค้า-บริการ รวมถึงหน่วยงานรัฐต่างๆ ต้องเร่งหามาตรการหรือนโยบายออกมากระตุ้นกำลังซื้อกลุ่มนี้ให้ออกมาจับจ่าย ในช่วงนี้ด้วย
จากภาพรวมทั้งหมด เห็นได้ว่าเมื่อมีปัจจัยเหนือการควบคุมเข้ามา การตัดสินใจทางเศรษฐศาสตร์ หรือการตลาด จึงไม่มีอะไรที่ผิดหรือถูก ชนิดตัดสินได้เป็นขาวหรือดำ
ผลที่ออกมาจึงมีแต่ผิดมากหรือถูกมาก ใช้ได้ถูกที่ถูกเวลาหรือไม่ สิ่งสำคัญ คือ เซนส์ (SENSE) ไหวพริบของผู้เลือกใช้ ซึ่งก็ต้องพลิกตำรา หากลยุทธ์ นำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับองค์ประกอบขององค์กรของตน เท่านี้ก็สามารถฝ่าวิกฤต แม้จะ เกิดวิกฤตอีกกี่ครั้ง ก็ผ่านฉลุย
PostToday : วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2552
ที่ ผ่านมานักเศรษฐศาสตร์ไม่สามารถคาดการณ์หรือหาวิธีแก้เพื่อไม่ให้เกิดหรือ บรรเทาวิกฤตใหญ่ๆ ของโลกให้กระทบน้อยลงได้ นักเศรษฐศาสตร์ทำได้เพียงตามอธิบายเรื่องที่เกิดขึ้น หลังวิกฤตเกิดขึ้นและกระทบคนไปทั่วแล้ว
จากคำถามดังกล่าวสะท้อนมาถึงนักการตลาด ผู้ติดตามพฤติกรรมการบริโภคของคน ซึ่งนักการตลาดชอบพูดว่าผู้บริโภคคือพระเจ้า หรือคอนซูเมอร์อีสเดอะคิงส์ ว่าจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เพื่อจะคิดสินค้า-บริการออกมาสนอง ว่าใน ส่วนของนักการตลาด ทำไมถึงไม่สามารถ คาดการณ์ผู้บริโภคไม่ให้ช็อก! ในการใช้จ่าย
บนคำถามดังกล่าวนักการตลาดส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า เพราะมีปัจจัยเหนือการควบคุม เช่น วิกฤตของโลก หรือความรุนแรงทางการเมือง ซึ่งช่วงนี้มีการเปลี่ยนแปลงเกือบทุกวัน แต่ถ้ามองเฉพาะปัจจัยทางธุรกิจที่ควบคุมได้ นักการตลาดบอกว่า กลยุทธ์ต่างๆ ที่กำหนดขึ้นมายังใช้ได้
และบนโจทย์จากวิกฤตครั้งนี้ ผศ.ดร.ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ ที่ปรึกษาและนักกลยุทธ์ด้านสื่อสารการตลาดหลายองค์กร ให้ความเห็นว่าจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ระวังการใช้จ่าย ราคาเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อในหลายสินค้า กลยุทธ์ “3 S” หรือทริปเปิลเอส สตราติจิก น่าจะเหมาะในการทำการตลาด
สำหรับ S ตัวแรก คือ เซล โปรโมชัน (Sale Promotion) เครื่องมือการทำตลาดหลักที่ ออกมาช่วยกระตุ้นยอดขายให้เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ รวมถึงยังเข้ามาช่วยบรรเทาในเรื่องของการบริหารสินค้าคงคลัง หรือสต๊อกสินค้าให้ระบายออกไปอย่างชะงัด เห็นได้ชัดในช่วงนี้ที่เจ้าของสินค้าประเภทต่างๆ หันมาโหมแคมเปญโปรโมชันมากขึ้น
ส่วน S ตัวที่ 2 คือ ซินเนอร์ยี มาร์เก็ตติง (Synergy Marketing) การผสานกิจกรรมส่งเสริมการขายและการทำตลาดระหว่างสินค้าที่มีกลุ่มเป้าหมาย และตำแหน่งสินค้าอยู่ในระดับเดียวกัน เพื่อ ลดต้นทุนดำเนินการร่วมกัน แต่ได้ยอดขายเป็นไปตามเป้าที่วางไว้ของแต่ละสินค้าในที่สุด อย่างช่วงที่ผ่านมาเกิดความร่วมมือทางการตลาดระหว่างธุรกิจประกันภัยและ ธุรกิจบันเทิง เป็นต้น
และ S ตัวสุดท้าย คือ โซเชียล เน็ตเวิร์กกิง (Social Networking) ด้วยการให้ผู้บริโภค ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมตรงกับสินค้าหรือบริการนั้นๆ ให้ได้มากสุด ในลักษณะการสร้างประสบการณ์สินค้า ร่วมกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่ตรงจุดของตัวเองมากขึ้น ซึ่งต่อจากนี้ไปจะเห็นได้ว่า กิจกรรมตลาด ณ จุดขาย หรือพีโอพี จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เจ้าของสินค้าจะเลือกเม็ดเงินการทำตลาดไปยังรูปแบบการโฆษณาแบบไม่ผ่านสื่อ (บีโลว์เดอะไลน์) มากขึ้น
ผศ.ดร.ธีรพันธ์ ย้ำว่ากลยุทธ์ “ทริปเปิลเอส” ยังสามารถนำไปปรับใช้ได้กับการบริหารจัดการการทำงานระหว่างภาครัฐ หรือ “จีทูจี” ได้ด้วยเช่นกัน เช่น จากความเสียหายที่เกิดขึ้นของการเมืองที่ผ่านมา กระทบยังภาคธุรกิจท่องเที่ยว จุดนี้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาอาจร่วมมือกับหน่วยงานรัฐอื่นๆ เช่น กระทรวงวัฒนธรรม หรืออื่นๆ เพื่อคิดหาโซลูชันพลิกเกมสู้วิกฤตนี้ร่วมกัน เป็นต้น
ขณะที่ ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด มองว่าเจ้าของสินค้าหรือนักการตลาดควรนำ “จิตวิทยาการตลาด” มาใช้เพื่อกระตุ้นอารมณ์กำลังซื้อมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของราคาและกิจกรรมส่งเสริมการขาย (Price & Promotion) ที่ต้องแรง และปลุกเร้าอารมณ์การจับจ่าย ซึ่งวิธีนี้อาจเหมาะกับกำลังซื้อ ผู้บริโภคทั่วไป
ขณะเดียวกันยังมีอีกหนึ่งกลุ่มลูกค้าสำคัญ คือ กลุ่มที่มีรายได้สูงและไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจรอบนี้ ซึ่งเจ้าของสินค้า-บริการ รวมถึงหน่วยงานรัฐต่างๆ ต้องเร่งหามาตรการหรือนโยบายออกมากระตุ้นกำลังซื้อกลุ่มนี้ให้ออกมาจับจ่าย ในช่วงนี้ด้วย
จากภาพรวมทั้งหมด เห็นได้ว่าเมื่อมีปัจจัยเหนือการควบคุมเข้ามา การตัดสินใจทางเศรษฐศาสตร์ หรือการตลาด จึงไม่มีอะไรที่ผิดหรือถูก ชนิดตัดสินได้เป็นขาวหรือดำ
ผลที่ออกมาจึงมีแต่ผิดมากหรือถูกมาก ใช้ได้ถูกที่ถูกเวลาหรือไม่ สิ่งสำคัญ คือ เซนส์ (SENSE) ไหวพริบของผู้เลือกใช้ ซึ่งก็ต้องพลิกตำรา หากลยุทธ์ นำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับองค์ประกอบขององค์กรของตน เท่านี้ก็สามารถฝ่าวิกฤต แม้จะ เกิดวิกฤตอีกกี่ครั้ง ก็ผ่านฉลุย
PostToday : วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2552
Friday, April 3, 2009
G20 - Taking all necessary action
The London summit 2009
Action is required around the world to: avoid a severe and protracted recession, guard against deflation, strengthen the financial sector and forestall pressure for protectionist policies that will damage every country.
Action is required around the world to:
* avoid a severe and protracted recession;
* guard against deflation;
* strengthen the financial sector and mitigate the decline in investment and the risks of financial isolationism, as foreign-owned banks withdraw lending or return it to their home markets; and
* forestall the pressure for protectionist policies that will damage every country.
Policy measures to date have avoided the collapse of the financial system and are already playing a useful role in supporting demand, countries will want to monitor conditions in the real economy and consider what further action may be warranted.
The macrofinancial response
Further steps are required to stimulate global demand. At the London Summit, world leaders will:
* review the following: the global impact of the financial crisis and whether further action may be warranted; how to ensure that the imperative to boost demand immediately is consistent with the need for long-term fiscal sustainability; and how to maintain levels of public investment, both in physical and human capital;
* reaffirm their commitment to price stability and to avoiding deflation, and support central banks to continue to take the necessary monetary policy measures; and
* reaffirm their determination to take whatever action is necessary to ensure the stability of the global financial system, including immediate action to support lending, and considering the case for cooperation on dealing with impaired assets.
Action is required around the world to: avoid a severe and protracted recession, guard against deflation, strengthen the financial sector and forestall pressure for protectionist policies that will damage every country.
Action is required around the world to:
* avoid a severe and protracted recession;
* guard against deflation;
* strengthen the financial sector and mitigate the decline in investment and the risks of financial isolationism, as foreign-owned banks withdraw lending or return it to their home markets; and
* forestall the pressure for protectionist policies that will damage every country.
Policy measures to date have avoided the collapse of the financial system and are already playing a useful role in supporting demand, countries will want to monitor conditions in the real economy and consider what further action may be warranted.
The macrofinancial response
Further steps are required to stimulate global demand. At the London Summit, world leaders will:
* review the following: the global impact of the financial crisis and whether further action may be warranted; how to ensure that the imperative to boost demand immediately is consistent with the need for long-term fiscal sustainability; and how to maintain levels of public investment, both in physical and human capital;
* reaffirm their commitment to price stability and to avoiding deflation, and support central banks to continue to take the necessary monetary policy measures; and
* reaffirm their determination to take whatever action is necessary to ensure the stability of the global financial system, including immediate action to support lending, and considering the case for cooperation on dealing with impaired assets.
ความสำคัญทางเศรษฐกิจของข้าวหอมมะลิ
ประเทศไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก นอกจากนี้ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ผลิตและส่งออก ข้าวหอมมะลิ ปริมาณผลผลิตข้าวหอมมะลิทั่วประเทศมีประมาณ 6.4 ล้านตัน (ปี 2548/2549) โดย ข้าวหอมมะลิ 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 2 มีปริมาณการส่งออกมากที่สุด (ประมาณ 1.3 ล้านตัน) และมีมูลค่าการส่งออกสูงสุดเมื่อเทียบกับข้าวหอมมะลิชนิดอื่นๆ
แนวโน้มการผลิตและการส่งออกข้าวหอมมะลิในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ ความต้องการบริโภคข้าวหอมมะลิในตลาดโลกยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน โดยตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิสำคัญของไทย คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา จีน สิงคโปร์ ฮ่องกง แคนาดา และประเทศในแถบแอฟริกา เช่น ไอเวอรีโคท สาธารณรัฐกานา
แนวโน้มการผลิตและการส่งออกข้าวหอมมะลิในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ ความต้องการบริโภคข้าวหอมมะลิในตลาดโลกยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน โดยตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิสำคัญของไทย คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา จีน สิงคโปร์ ฮ่องกง แคนาดา และประเทศในแถบแอฟริกา เช่น ไอเวอรีโคท สาธารณรัฐกานา
Subscribe to:
Posts (Atom)