SET 0.21%
S50Z14 0.16%
-----------------------------------------
ITD 17% -- Hold
GUNKUL 9% -- Hold
SPCG 12% -- Hold
TICON 0% -- Cut
WHA -6% -- Cut
BEC -1% -- Cut
EARTH 0% -- Cut
-----------------------------------------
Port value : 57,500 / Total value : 100,000
Profit : 1,248.72 / Profit : 1,248.72
PL : 2.17% / PL : 1.25%
========================
** ก็ยังหาเลือกตัวเข้าพอร์ตได้ยาก ไม่ Side-way ก็ลง // สัปดาห์นี้ ก็เลือก Hold ตัวที่ยังมีแนวโน้มดีต่อไป, ส่วนตัวที่ไม่ดีตัดออก
** SET ยัง Side-way ต่อไป ในกรอบ 1591-1560 (1575) -- ถ้าเป็นอย่างนี้ ก็ต่ำกว่า 1575 หาจังหวะซื้อ, สูงกว่า 1575 หาจังหวะขาย
Monday, November 24, 2014
Sunday, November 16, 2014
Result #46
SET - Sideway (กรอบบน) เข้าภาวะพักฐานอีกครั้ง
ฺPort. (Setup) - This week
ITD (6.35) -- 1/4 [B1.89]
GUNKUL (25.25) -- 1 [B1.63]
SPCG (27.25) -- 1/2 [B1.11]
TICON (19.50) -- 1 [B0.95]
WHA (39.25) -- 1 [B1.34]
BEC (50.75) -- 1 [B0.95]
EARTH (5.60) --1 [B1.13]
----------------------------------------
CASH -- 4.25
========================
--- หายากมาก, สัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้ส่วนใหญ่ไม่ออกข้าง ก็ปรับตัวลง
ฺPort. (Setup) - This week
ITD (6.35) -- 1/4 [B1.89]
GUNKUL (25.25) -- 1 [B1.63]
SPCG (27.25) -- 1/2 [B1.11]
TICON (19.50) -- 1 [B0.95]
WHA (39.25) -- 1 [B1.34]
BEC (50.75) -- 1 [B0.95]
EARTH (5.60) --1 [B1.13]
----------------------------------------
CASH -- 4.25
========================
--- หายากมาก, สัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้ส่วนใหญ่ไม่ออกข้าง ก็ปรับตัวลง
Thursday, October 9, 2014
ทองวันนี้
ภาพยาวๆ, ก็ยังเป็นขาลงชัดเจน ระยะสั้นๆ ก็ยังลงต่อ แต่มีข้อสังเกตล่าสุดทำ triple bottom ที่แนวรับเดิมเป็นครั้งที่สามแล้ว ก็ไม่รู้นะว่าจะยังสามารถลงได้อีกหรือไม่? แม้จะยังเป็นขาลงก็ตาม แนวรับนี้มีอะไรดี?
Monday, September 1, 2014
ทิศทาง THB/USD ในระดับสัปดาห์
ภาพสัปดาห์จะเห็นได้ว่ายังเป็นทิศทางอ่อนค่า, อยู่ในระยะพักตัว
แต่ถ้ามองในระดับวันจะเห็นได้ว่า มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น -- ก็ต้องดูไปว่าจะสามารถพัฒนาไปจนมีผลกับระดับสัปดาห์หรือไม่?
*** ข้อนี้ก็ไม่อ้างอิงถึงพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การไหลเข้า-ออกของเงิน หรือการแข็งแกร่งของสหรัฐฯ เป็นแนวเทคนิคคอลล้วนๆ ที่เชื่อว่าจะมาสะท้อนในแท่งราคา
*** แต่ถ้าจะลองแปลในภาษาเศรษฐศาสตร์ดู ก็ดูเหมือนเงินกำลังเข้าไปหาสหรัฐฯ ที่ไม่รู้ว่าจะผ่านไปตลาดพันธบัตร, ตลาดหุ้น (ไม่น่าใช่) หรือ Real sector
ประมาณนั้น....
แต่ถ้ามองในระดับวันจะเห็นได้ว่า มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น -- ก็ต้องดูไปว่าจะสามารถพัฒนาไปจนมีผลกับระดับสัปดาห์หรือไม่?
*** ข้อนี้ก็ไม่อ้างอิงถึงพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การไหลเข้า-ออกของเงิน หรือการแข็งแกร่งของสหรัฐฯ เป็นแนวเทคนิคคอลล้วนๆ ที่เชื่อว่าจะมาสะท้อนในแท่งราคา
*** แต่ถ้าจะลองแปลในภาษาเศรษฐศาสตร์ดู ก็ดูเหมือนเงินกำลังเข้าไปหาสหรัฐฯ ที่ไม่รู้ว่าจะผ่านไปตลาดพันธบัตร, ตลาดหุ้น (ไม่น่าใช่) หรือ Real sector
ประมาณนั้น....
Wednesday, May 7, 2014
Wednesday, March 26, 2014
ทำไมหุ้นไทยไม่ไปไหน - ภาคต่อ
จากประเด็น ทำไมหุ้นไทยไม่ไปไหน ครั้งที่แล้ว
ย้อนหลัง 10 ปีเคยทำจุดสูงสุด 1700 กว่าๆ ได้ปรับตัวลดลงไปอยู่ก้นเหว แช่อยู่นาน แล้วกลับตัวสูงขึ้นยืนเหนือ 700 800 จุด แล้วร่วงกลับไปที่ 400 ใหม่ และได้มายืนอยู่ในปัจจุบัน (ผ่าน 1650)
ส่วนตัวแล้ว ตลาดหลักทรัพย์เป็นเรื่องการการระดมทุน ให้บริษัทหนึ่งๆเป็นมหาชน เปิดโอกาสให้นักลงทุนได้มีโอกาสเป็นเจ้าของ ส่วนเจ้าของก็ได้เงินทุนไปขยาย-ทำธรุกิจบริษัทให้เติบโตขึ้น
ภาพที่เห็นได้จากอดีต ถ้ามันเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้อง หรือมีผลกระทบกับธุรกิจ มันก็แน่นอนว่าจะต้องขายออกไป เปลี่ยนกลับมาถือเป็นเงินสดก่อนดีกว่า แต่การได้เห็นดัชนีถูกกดต่ำขนาดนั้น แสดงให้เห็นว่านักลงทุนทุกกลุ่มไม่มีความเชื่อมั่นเลย จึงต่างแย่งกันเทขายออกมาขนาดนั้น ซึ่งถ้ามีสักกลุ่มที่เชื่อมั่นอยู่ ก็น่าจะมีแรงรับหรือพยุงดัชนีไว้บ้างไม่มากก็น้อย หรือในอีกทางคือส่วนใหญ่ยังเป็นการลงทุนระยะสั้นอยู่ (เข้าใจเองว่าคงมีบ้างที่รับไว้ แต่น้อยกว่ามาก)
ดังนั้นถ้านักลงทุนยังมีลักษณะอย่างนี้ วิกฤติครั้งหน้า ไม่ว่าจะทางตรงหรืออ้อมก็อาจเกิดการเทขายอย่างนี้เกิดขึ้น แล้วดัชนีไทยจะไปได้ไกลแค่ไหนกัน?
[อีกด้านหนึ่งที่จะมีบริษัทต่างๆ เข้ามาเป็นมหาชนมากขึ้น หากความเชื่อมั่นยังเป็นอย่างนี้ ต่อให้มีบริษัทอยากเข้ามา แต่ความเชื่อมั่นไม่มีก็ระดมทุนไม่ได้อยู่ดี]
หรือว่างัย?
ย้อนหลัง 10 ปีเคยทำจุดสูงสุด 1700 กว่าๆ ได้ปรับตัวลดลงไปอยู่ก้นเหว แช่อยู่นาน แล้วกลับตัวสูงขึ้นยืนเหนือ 700 800 จุด แล้วร่วงกลับไปที่ 400 ใหม่ และได้มายืนอยู่ในปัจจุบัน (ผ่าน 1650)
ส่วนตัวแล้ว ตลาดหลักทรัพย์เป็นเรื่องการการระดมทุน ให้บริษัทหนึ่งๆเป็นมหาชน เปิดโอกาสให้นักลงทุนได้มีโอกาสเป็นเจ้าของ ส่วนเจ้าของก็ได้เงินทุนไปขยาย-ทำธรุกิจบริษัทให้เติบโตขึ้น
ภาพที่เห็นได้จากอดีต ถ้ามันเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้อง หรือมีผลกระทบกับธุรกิจ มันก็แน่นอนว่าจะต้องขายออกไป เปลี่ยนกลับมาถือเป็นเงินสดก่อนดีกว่า แต่การได้เห็นดัชนีถูกกดต่ำขนาดนั้น แสดงให้เห็นว่านักลงทุนทุกกลุ่มไม่มีความเชื่อมั่นเลย จึงต่างแย่งกันเทขายออกมาขนาดนั้น ซึ่งถ้ามีสักกลุ่มที่เชื่อมั่นอยู่ ก็น่าจะมีแรงรับหรือพยุงดัชนีไว้บ้างไม่มากก็น้อย หรือในอีกทางคือส่วนใหญ่ยังเป็นการลงทุนระยะสั้นอยู่ (เข้าใจเองว่าคงมีบ้างที่รับไว้ แต่น้อยกว่ามาก)
ดังนั้นถ้านักลงทุนยังมีลักษณะอย่างนี้ วิกฤติครั้งหน้า ไม่ว่าจะทางตรงหรืออ้อมก็อาจเกิดการเทขายอย่างนี้เกิดขึ้น แล้วดัชนีไทยจะไปได้ไกลแค่ไหนกัน?
[อีกด้านหนึ่งที่จะมีบริษัทต่างๆ เข้ามาเป็นมหาชนมากขึ้น หากความเชื่อมั่นยังเป็นอย่างนี้ ต่อให้มีบริษัทอยากเข้ามา แต่ความเชื่อมั่นไม่มีก็ระดมทุนไม่ได้อยู่ดี]
หรือว่างัย?
Thursday, March 20, 2014
ชาร์ตย้อนหลัง - ภาพอดีตกำหนดอนาคต
ภาพแรกย้อนหลัง 5 ปี, เส้นค่าเฉลี่ย 1, 2, 3 ปีตามลำดับ
ภาพต่อมา, ย้อนหลัง 10 ปี, เส้นค่าเฉลี่ย 2, 4, 6 ปี ตามลำดับ
ภาพต่อมา, ย้อนหลัง 10 ปี, เส้นค่าเฉลี่ย 2, 4, 6 ปี ตามลำดับ
:. โอกาสของราคาที่จะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนระยะยาวน้อย และสั้นกว่า (ถ้าไม่เกิดเหตุการณ์ล่มสลายกับตลาดฯ หรือระบบเศรษฐกิจในประเทศชนิดว่าความเชื่อมั่นติดลบระยะยาวๆ เช่นเปลี่ยนการปกครอง, โครงสร้างพื้นฐานเสียหาย เช่น ภัยพิบัติธรรมชาติตัดเส้นทางขนส่ง) จึงเป็นโอกาสที่สะสมหลักทรัพย์ได้ในราคาต่ำ
:. สัดส่วนของปริมาณอาจขึ้นกับโอกาสที่จะเกิด เช่น เหนือ MA ทุกเส้น กำหนดจำนวนน้อยมาก (หรือมองเป็นการเก็งกำไร) ต่ำกว่า MA1Y กำหนดไว้ 25%, ต่ำกว่า MA2Y กำหนดไว้ 50%, ต่ำกว่า MA3Y กำหนดไว้เป็น 100%, ต่ำกว่า MA5Y กำหนดไว้ 200% เป็นต้น
:.ต้องเปลี่ยนทัศนคติกับตลาดขาลงใหม่ ว่าไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เป็น เพียงแต่อยู่ผิดที่ผิดเวลา หรือผิดแผนที่ควรจะเป็น!
:.ต้องเปลี่ยนทัศนคติกับตลาดขาลงใหม่ ว่าไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เป็น เพียงแต่อยู่ผิดที่ผิดเวลา หรือผิดแผนที่ควรจะเป็น!
Tuesday, March 18, 2014
ลดดอกเบี้ย:ใครได้ใครเสีย
ลดดอกเบี้ย:ใครได้ใครเสีย 4
แนวโน้มการถือครองเงินสดและเงินฝากของธพ.ในสถาบันการเงินต่างประเทศ
ในภาพรวมแล้ว การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ อันนำมาสู่ภาวะที่อัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่บางลงตามการขยับขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในแต่ละเดือนนั้น น่าจะส่งผลดีต่อภาคธุรกิจเอกชนและรัฐบาล ผ่านต้นทุนการกู้ยืมเงินที่ถูกลง นอกจากนี้ ยังช่วยลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับลูกหนี้ ช่วยสร้างแรงจูงใจ ในการชำระหนี้และปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งจะบรรเทาปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคาร
ในส่วนของธนาคารเองนั้น การลดดอกเบี้ย ถึงแม้ว่าธนาคารจะไม่ได้รับผลประโยชน์จากการลดต้นทุนดอกเบี้ยฝากในทันที เนื่องจากต้องรอ ให้เงินฝากประจำ ทยอยครบกำหนดก่อนถึงจะบังคับใช้อัตราดอกเบี้ยใหม่ได้ (ซึ่งเงินฝากประจำครองสัดส่วนกว่าร้อยละ 70 ของฐานเงินฝากทั้งหมด) ขณะที่ธนาคารต้องรับรู้รายได้ จากดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลงทันที (โดยเฉพาะในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ให้กับธุรกิจ อิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มาตรฐานของธนาคาร)
แต่ท้ายที่สุด ธนาคารก็จะสามารถทยอยรับรู้ต้นทุนที่ลดลงดังกล่าวได้ ซึ่งจะมีผลให้ธนาคารมีความสามารถในการทำกำไร หรือมีส่วนต่างระหว่าง อัตราดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่าย (Net interest margin) ที่สูงขึ้นด้วย อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ฝากเงินนั้น แม้ว่าอาจไม่ใช่ผู้เบี้ยวหนี้ หรือต้นตอของปัญหาเศรษฐกิจ แต่คงต้องกลายเป็นผู้แบกรับต้นทุนโดยพฤตินัย ผ่านผลตอบแทนจากการฝากเงินที่ลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
โดยการลดดอกเบี้ยอาจไม่ได้สร้างแรงจูงใจในการบริโภคให้มากขึ้นตามที่ควรจะเป็นตามทฤษฎี แต่อาจกลับส่งสัญญาณให้ผู้ฝากเงินรู้สึกไม่ปลอดภัย และยิ่งชะลอการบริโภคมากขึ้นอีกก็เป็นได้ ความต้องการสินเชื่ออาจไม่ขยับเพิ่มขึ้น หากอนาคตเศรษฐกิจยังสั่นคลอน นั่นหมายความว่า แรงกระตุ้นทางบวก ของการลดดอกเบี้ยต่อผู้ผลิต ลูกหนี้ ธนาคารพาณิชย์ และรัฐบาล มีโอกาสที่จะไม่สัมฤทธิ์ผล
นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าการลดดอกเบี้ยจะเพิ่มศักยภาพในการทำกำไร ให้กับธนาคารพาณิชย์มากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าธนาคารพาณิชย์ จะพยายามที่จะลดหย่อน กฎเกณฑ์การปล่อยกู้ลง เพราะยังมีข้อจำกัดด้านเงินกองทุน และปัจจัยความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจอยู่ ขณะที่การพึ่งพิงแรงกระตุ้น จากภาคการผลิต หลังจากได้อานิสงค์ของการลดดอกเบี้ยนั้น อาจไม่สมหวัง เพราะภาคการผลิตยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินอีกมาก
แก้เศรษฐกิจ และบรรเทาผลกระทบต่อผู้ฝากเงิน: เงื่อนไขหลักที่รัฐควรเร่งดำเนินการ
เนื่องจากปัญหาต่างๆ เชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่ และการแก้ไขปัญหาที่ต้นตอ คงต้องเริ่มจากการผลักดันให้เศรษฐกิจดีขึ้นก่อนเป็นอันดับแรก โดยรัฐบาลอาจต้องใช้หลายมาตรการประกอบกันในระยะเวลาเดียวกัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ดึงความต้องการใช้จ่ายของผู้บริโภค พร้อมกับผลักดัน ให้ผู้ผลิตขยายการลงทุนให้มากขึ้น ซึ่งเมื่อประชาชน หรือหน่วยเศรษฐกิจ มีรายได้อื่นๆเข้ามาเสริม แทนที่จะพึ่งพิงแต่รายได้ จากอัตราดอกเบี้ย เป็นหลักเช่นแต่ก่อน
ความกังวลต่อการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยก็จะลดลง ความต้องการสินเชื่อใหม่ก็จะเพิ่มขึ้น ดันให้ภาวะสภาพคล่องส่วนเกิน และกลไก การทำงานของสถาบัน การเงินกลับเข้าสู่ปกติได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งจะค่อยๆสะท้อนออกมาในรูปของการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในระยะเวลาและลักษณะที่ควรจะเป็น
อย่างไรก็ดี การออกมาตรการเศรษฐกิจ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต่อภาระหนี้สาธารณะ และข้อจำกัดด้านงบประมาณของรัฐบาล อีกทั้งยังต้องอาศัยระยะเวลา สักระยะหนึ่งกว่าที่จะเห็นผล ดังนั้น ระหว่างนี้ เพื่อเป็นการบรรเทาแรงกดดันจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงต่อกลุ่มผู้ที่พึ่งพิงเงินออม
ทางการจึงควรเข้ามาทำหน้าที่ ช่วยแบกรับภาระดังกล่าว ด้วยการออกโครงการ ช่วยเหลือต่างๆ เช่น การออกพันธบัตรออมทรัพย์ คล้ายกับที่ทำ ในช่วงปีงบประมาณ 2543 โดยอาจยืดระยะเวลา ช่วงการถือครองพันธบัตร ที่เปลี่ยนมือไม่ได้ ให้ยาวขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ถือพันธบัตร ปฎิบัติตัวตรงตามจุดประสงค์ ขณะที่รัฐบาล อาจต้องยอม แบกรับต้นทุนอัตราดอกเบี้ย ที่ควรจะสูงกว่าอัตรา ดอกเบี้ยพันธบัตร ประเภทเดียวกันตามท้องตลาดนั้นแทน
อีกทางเลือกหนึ่ง คือ ทางการอาจเพิ่มข้อยกเว้นหรือข้อลดหย่อนต่างๆ โดยอาจเป็นการลดภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้กับผู้มีบัญชีเงินฝากประจำ เป็นต้น อย่างไรก็ดี การลดภาษีดังกล่าว อาจทำได้ยาก ในทางปฏิบัติเพราะถือเป็นรายได้ ก้อนใหญ่ของรัฐบาล ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในภาวะการคลังปัจจุบัน และในภาวะที่รัฐบาลใหม่ อาจตัดสินใจไม่ปรับเพิ่ม ภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 เมื่อถึงกำหนดในช่วงกลางปีนี้
แนวโน้มดอกเบี้ย: จะลงต่อหรือไม่ ขึ้นกับระดับสภาพคล่อง
เนื่องจาก เงื่อนไขหลัก ที่จะสกัดกั้นการลดลงของอัตราดอกเบี้ย ในระยะต่อไป คือ ระดับสภาพคล่องส่วนเกิน ของระบบสถาบันการเงินที่ลดลง อันเป็นผลจากการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจ ซึ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจนั้นขึ้นกับนโยบายเศรษฐกิจในช่วงต่อไปเป็นสำคัญ โดยถ้าหากเศรษฐกิจไม่สามารถมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้
นอกจากความต้องการสินเชื่อใหม่จะไม่เพิ่มขึ้นแล้ว ผู้มีเงินออมอาจยิ่งชะลอการบริโภค หันมาเก็บออมมากขึ้น สภาพคล่องส่วนเกินในระบบ สถาบันการเงิน ก็จะยิ่งพอกพูนขึ้นไปอีก ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ อาจมีความจำเป็นต้อง ลดดอกเบี้ย ลงอีกระลอกหนึ่ง ซึ่งอาจส่งผลต่อเนื่อง ให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะ “กับดักสภาพคล่อง” (Liquidity Trap) ได้
โดยกรณีดังกล่าวนี้ จะคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศญี่ปุ่น ที่ถึงแม้ว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย (nominal term) จะลดลงจนอัตราดอกเบี้ย ระยะสั้นเข้าใกล้ร้อยละศูนย์ นั่นคืออัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ มาเป็นระยะเวลานานแล้ว แต่กลับไม่มีผลในการเพิ่ม การใช้จ่ายและลงทุน ของประชาชนเท่าใดนัก เศรษฐกิจจึงไม่สามารถฟื้นตัวได้ อนึ่ง ระหว่างนี้
นอกเหนือจากการออกมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจ และลดผลกระทบ จากการลดดอกเบี้ย ต่อผู้ฝากเงินแล้ว ทางการอาจพิจารณา สานต่อมาตรการ การออกพันธบัตร เพื่อดูดซับสภาพคล่องของระบบสถาบันการเงิน เช่นที่เป็นอยู่ โดยควรยึดทางสายกลาง และระวังไม่ให้สร้างภาวะสภาพคล่องตึงตัว ให้กับระบบ เพราะจะผลักดัน ให้อัตราดอกเบี้ย ปรับตัวสูงขึ้นเร็วกว่า ที่ควรจะเป็น ซึ่งจะส่งผลเสีย ต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
แนวโน้มการถือครองเงินสดและเงินฝากของธพ.ในสถาบันการเงินต่างประเทศ
ในภาพรวมแล้ว การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ อันนำมาสู่ภาวะที่อัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่บางลงตามการขยับขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในแต่ละเดือนนั้น น่าจะส่งผลดีต่อภาคธุรกิจเอกชนและรัฐบาล ผ่านต้นทุนการกู้ยืมเงินที่ถูกลง นอกจากนี้ ยังช่วยลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับลูกหนี้ ช่วยสร้างแรงจูงใจ ในการชำระหนี้และปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งจะบรรเทาปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคาร
ในส่วนของธนาคารเองนั้น การลดดอกเบี้ย ถึงแม้ว่าธนาคารจะไม่ได้รับผลประโยชน์จากการลดต้นทุนดอกเบี้ยฝากในทันที เนื่องจากต้องรอ ให้เงินฝากประจำ ทยอยครบกำหนดก่อนถึงจะบังคับใช้อัตราดอกเบี้ยใหม่ได้ (ซึ่งเงินฝากประจำครองสัดส่วนกว่าร้อยละ 70 ของฐานเงินฝากทั้งหมด) ขณะที่ธนาคารต้องรับรู้รายได้ จากดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลงทันที (โดยเฉพาะในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ให้กับธุรกิจ อิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มาตรฐานของธนาคาร)
แต่ท้ายที่สุด ธนาคารก็จะสามารถทยอยรับรู้ต้นทุนที่ลดลงดังกล่าวได้ ซึ่งจะมีผลให้ธนาคารมีความสามารถในการทำกำไร หรือมีส่วนต่างระหว่าง อัตราดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่าย (Net interest margin) ที่สูงขึ้นด้วย อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ฝากเงินนั้น แม้ว่าอาจไม่ใช่ผู้เบี้ยวหนี้ หรือต้นตอของปัญหาเศรษฐกิจ แต่คงต้องกลายเป็นผู้แบกรับต้นทุนโดยพฤตินัย ผ่านผลตอบแทนจากการฝากเงินที่ลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
โดยการลดดอกเบี้ยอาจไม่ได้สร้างแรงจูงใจในการบริโภคให้มากขึ้นตามที่ควรจะเป็นตามทฤษฎี แต่อาจกลับส่งสัญญาณให้ผู้ฝากเงินรู้สึกไม่ปลอดภัย และยิ่งชะลอการบริโภคมากขึ้นอีกก็เป็นได้ ความต้องการสินเชื่ออาจไม่ขยับเพิ่มขึ้น หากอนาคตเศรษฐกิจยังสั่นคลอน นั่นหมายความว่า แรงกระตุ้นทางบวก ของการลดดอกเบี้ยต่อผู้ผลิต ลูกหนี้ ธนาคารพาณิชย์ และรัฐบาล มีโอกาสที่จะไม่สัมฤทธิ์ผล
นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าการลดดอกเบี้ยจะเพิ่มศักยภาพในการทำกำไร ให้กับธนาคารพาณิชย์มากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าธนาคารพาณิชย์ จะพยายามที่จะลดหย่อน กฎเกณฑ์การปล่อยกู้ลง เพราะยังมีข้อจำกัดด้านเงินกองทุน และปัจจัยความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจอยู่ ขณะที่การพึ่งพิงแรงกระตุ้น จากภาคการผลิต หลังจากได้อานิสงค์ของการลดดอกเบี้ยนั้น อาจไม่สมหวัง เพราะภาคการผลิตยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินอีกมาก
แก้เศรษฐกิจ และบรรเทาผลกระทบต่อผู้ฝากเงิน: เงื่อนไขหลักที่รัฐควรเร่งดำเนินการ
เนื่องจากปัญหาต่างๆ เชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่ และการแก้ไขปัญหาที่ต้นตอ คงต้องเริ่มจากการผลักดันให้เศรษฐกิจดีขึ้นก่อนเป็นอันดับแรก โดยรัฐบาลอาจต้องใช้หลายมาตรการประกอบกันในระยะเวลาเดียวกัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ดึงความต้องการใช้จ่ายของผู้บริโภค พร้อมกับผลักดัน ให้ผู้ผลิตขยายการลงทุนให้มากขึ้น ซึ่งเมื่อประชาชน หรือหน่วยเศรษฐกิจ มีรายได้อื่นๆเข้ามาเสริม แทนที่จะพึ่งพิงแต่รายได้ จากอัตราดอกเบี้ย เป็นหลักเช่นแต่ก่อน
ความกังวลต่อการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยก็จะลดลง ความต้องการสินเชื่อใหม่ก็จะเพิ่มขึ้น ดันให้ภาวะสภาพคล่องส่วนเกิน และกลไก การทำงานของสถาบัน การเงินกลับเข้าสู่ปกติได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งจะค่อยๆสะท้อนออกมาในรูปของการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในระยะเวลาและลักษณะที่ควรจะเป็น
อย่างไรก็ดี การออกมาตรการเศรษฐกิจ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต่อภาระหนี้สาธารณะ และข้อจำกัดด้านงบประมาณของรัฐบาล อีกทั้งยังต้องอาศัยระยะเวลา สักระยะหนึ่งกว่าที่จะเห็นผล ดังนั้น ระหว่างนี้ เพื่อเป็นการบรรเทาแรงกดดันจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงต่อกลุ่มผู้ที่พึ่งพิงเงินออม
ทางการจึงควรเข้ามาทำหน้าที่ ช่วยแบกรับภาระดังกล่าว ด้วยการออกโครงการ ช่วยเหลือต่างๆ เช่น การออกพันธบัตรออมทรัพย์ คล้ายกับที่ทำ ในช่วงปีงบประมาณ 2543 โดยอาจยืดระยะเวลา ช่วงการถือครองพันธบัตร ที่เปลี่ยนมือไม่ได้ ให้ยาวขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ถือพันธบัตร ปฎิบัติตัวตรงตามจุดประสงค์ ขณะที่รัฐบาล อาจต้องยอม แบกรับต้นทุนอัตราดอกเบี้ย ที่ควรจะสูงกว่าอัตรา ดอกเบี้ยพันธบัตร ประเภทเดียวกันตามท้องตลาดนั้นแทน
อีกทางเลือกหนึ่ง คือ ทางการอาจเพิ่มข้อยกเว้นหรือข้อลดหย่อนต่างๆ โดยอาจเป็นการลดภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้กับผู้มีบัญชีเงินฝากประจำ เป็นต้น อย่างไรก็ดี การลดภาษีดังกล่าว อาจทำได้ยาก ในทางปฏิบัติเพราะถือเป็นรายได้ ก้อนใหญ่ของรัฐบาล ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในภาวะการคลังปัจจุบัน และในภาวะที่รัฐบาลใหม่ อาจตัดสินใจไม่ปรับเพิ่ม ภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 เมื่อถึงกำหนดในช่วงกลางปีนี้
แนวโน้มดอกเบี้ย: จะลงต่อหรือไม่ ขึ้นกับระดับสภาพคล่อง
เนื่องจาก เงื่อนไขหลัก ที่จะสกัดกั้นการลดลงของอัตราดอกเบี้ย ในระยะต่อไป คือ ระดับสภาพคล่องส่วนเกิน ของระบบสถาบันการเงินที่ลดลง อันเป็นผลจากการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจ ซึ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจนั้นขึ้นกับนโยบายเศรษฐกิจในช่วงต่อไปเป็นสำคัญ โดยถ้าหากเศรษฐกิจไม่สามารถมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้
นอกจากความต้องการสินเชื่อใหม่จะไม่เพิ่มขึ้นแล้ว ผู้มีเงินออมอาจยิ่งชะลอการบริโภค หันมาเก็บออมมากขึ้น สภาพคล่องส่วนเกินในระบบ สถาบันการเงิน ก็จะยิ่งพอกพูนขึ้นไปอีก ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ อาจมีความจำเป็นต้อง ลดดอกเบี้ย ลงอีกระลอกหนึ่ง ซึ่งอาจส่งผลต่อเนื่อง ให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะ “กับดักสภาพคล่อง” (Liquidity Trap) ได้
โดยกรณีดังกล่าวนี้ จะคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศญี่ปุ่น ที่ถึงแม้ว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย (nominal term) จะลดลงจนอัตราดอกเบี้ย ระยะสั้นเข้าใกล้ร้อยละศูนย์ นั่นคืออัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ มาเป็นระยะเวลานานแล้ว แต่กลับไม่มีผลในการเพิ่ม การใช้จ่ายและลงทุน ของประชาชนเท่าใดนัก เศรษฐกิจจึงไม่สามารถฟื้นตัวได้ อนึ่ง ระหว่างนี้
นอกเหนือจากการออกมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจ และลดผลกระทบ จากการลดดอกเบี้ย ต่อผู้ฝากเงินแล้ว ทางการอาจพิจารณา สานต่อมาตรการ การออกพันธบัตร เพื่อดูดซับสภาพคล่องของระบบสถาบันการเงิน เช่นที่เป็นอยู่ โดยควรยึดทางสายกลาง และระวังไม่ให้สร้างภาวะสภาพคล่องตึงตัว ให้กับระบบ เพราะจะผลักดัน ให้อัตราดอกเบี้ย ปรับตัวสูงขึ้นเร็วกว่า ที่ควรจะเป็น ซึ่งจะส่งผลเสีย ต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
Friday, February 28, 2014
PBV Ratio
ความรู้การลงทุนหุ้น [Price per Book Value: Part 2 Application]
[ตัดต่อบางส่วนมา....]
ขยายความต่อได้ก็คือ P/BVของบริษัทที่มากกว่า1 (ราคาหุ้นมีค่ามากกว่ามูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น) นั้นหมายความว่า มูลค่าของบริษัทในตลาดหุ้นมีมากกว่ามูลค่าของสินทรัพย์ที่บริษัทมีอยู่จริงเสียอีก ซึ่งส่วนใหญ่P/BVที่มากกว่า1มากๆจะเกิดขึ้นกับบริษัทที่มีผลประกอบการดี กำไรสูง และคนส่วนใหญ่เชื่อว่าบริษัทมีมูลค่ามากกว่าสินทรัพย์ของบริษัทที่จับต้องได้ มูลค่าที่เพิ่มขึ้นมานั้นอาจจะเกิดจาก ความสามารถในการจัดการของผู้บริหาร มูลค่าของยี่ห้อสินค้า หรือแม้กระทั่งอำนาจผูกขาดในตลาดที่บริษัททำธุรกิจอยู่ สิ่งเหล่านี้ทำให้ราคาทีคนยอมรับซื้อ-ขายกันในตลาดหุ้นนั้นสูงกว่ามูลค่าของสินทรัพย์ต่อหุ้นที่บริษัทมีอยู่มาก (ตัวอย่าง PTTEP ซึ่งมี ราคาปิดต่อมูลค่าตามบัญชีเท่ากับ 2.9)
P/BVของบริษัทที่ต่ำกว่า1 (ราคาหุ้นมีค่าต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น) นั้นหมายความว่า มูลค่าของบริษัทนั้นๆในตลาดหุ้นต่ำกว่ามูลค่าของสินทรัพย์ที่บริษัทมีอยู่จริง ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับบริษัททีมีผลประกอบการไม่ดี ขาดทุนบ่อย และคนส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่นในองกรค์นี้เท่าไรนัก มูลค่าที่คนยอมรับซื้อ-ขายกันในตลาดหุ้นจึงต่ำกว่าสินทรัพย์ที่บริษัทมี (ตัวอย่าง RCL ซึ่งมี ราคาปิดต่อมูลค่าตามบัญชีเท่ากับ 0.51)
ประยุกต์ใช้กับสถานการณปัจุบัน
แล้วตอนนี้เราอยู่ในวิกฤตหรือเปล่า? ถ้าวิกฤตทางการเมืองละไม่แน่ แต่วิกฤตทางเศรษฐกิจนี้เลิกคิดไปได้เลย เพราะสัญญาน และตัวเลขต่างๆบอกตรงกันว่าเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยกำลังฟื้นตัว เพราะฉะนั้น นักลงทุนส่วนใหญ่ควรมองเห็นว่าถ้าดูกันระยะยาว ยังไงๆตลาดก็ต้องดีขึ้น ถึงแม้จะมีเรื่องความไม่มั่นคงทางการเมือง แต่เมื่อเปรียบเทียบความรุนแรงระหว่างการเมืองกับสงครามโลกครั้งที่สอง จะเห็นได้ว่า การเมืองบ้านเรายังเบากว่าและสั้นกว่ามากนัก เมื่อคำนวนปัจจัยบวกลบกันแล้ว สถานการณ์ตลาดหุ้นถือว่าค่อนข้างปกติ และไม่ได้อยู่ในช่วงวิกฤตอะไร
แต่สิ่งทีน่าแปลกใจคือ หุ้นหลายๆตัวมีค่าP/BVน้อยกว่า1 (บางตัวถึงขนาดน้อยกว่า0.5) ซึ่งน่าแปลกใจว่าทำไมมันถึงunder-valuedได้มากขนาดนี้ ย้ำนะครับว่าP/BVน้อยกว่า1แปลว่า การซื้อหุ้นของบริษัทนั้นๆในตลาดหลักทรัพย์นั้นถูกกว่าการที่คุณไปลงทุนซื้อสินทรัพย์มาตั้งบริษัทใหม่เองเสียอีก ซึ่งอาจจะแปลความหมายได้ว่า ตลาดตีมูลค่าประสบการณ์ที่สั่งสมมา ทักษะการบริหาร และโอกาสในการทำกำไรของบริษัท เป็นติดลบ! ทำให้มูลค่าทางตลาดที่ถูกสะท้อนอยู่ในราคาหุ้นนั้น ต่ำกว่ามูลค่าสินทรัพย์ซึ่งเป็นแค่สิ่งของที่บริษัทเป็นเจ้าของเสียอีก ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วสิ่งนี้จะเกิดขึ้นกับบริษัทที่นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่นในผลประกอบการในอนาคต หรือ ภาพลักษณ์ในอดีตไม่ดีนัก
อย่างไรก็ตาม ถ้าเราเชื่อและมีเหตุผลชัดเจนว่าอนาคตของบริษัทนั้นๆจะดีขึ้นและมีกำไรแน่นอน แต่P/BVดันต่ำกว่า 1 เราก็รู้แล้วว่าหุ้นตัวนี้ราคาถูกไป ควรซื้อเก็บไว้ เพราะในฐานะบริษัทที่ทำกำไร หรือกำลังจะกำไร มูลค่าตลาดที่สะท้อนอยู่ในราคาหุ้นนั้นไม่ควรจะต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชี และถ้าต่ำกว่า ก็จะต่ำกว่าไม่ได้นานหนัก ยังไงๆก็ต้องปรับตัวขึ้นมาไม่ช้าก็เร็ว ไม่คุ้มเหรอครับที่ เราสามารถซื้อสินทรัพย์จากตลาดในราคาที่ถูกกว่าที่เจ้าของเขาซื้อมา แถมยังได้บุคคลากรที่มีประสบการณ์ และสิ่งที่บริษัทสั่งสมมาต่างๆนาๆ
สรุปแล้วก็คือ โดยทั่วไปราคาของหุ้นแต่ละบริษัทควรจะมีP/BVไม่ต่ำกว่า1 แต่ในยามที่เกิดวิกฤติหนักๆ ก็ไม่แปลกอะไรที่P/BVจะน้อยกว่าหนึ่งนั้นเอง
[ทำความเข้าใจเพิ่มเติม....]
ทำความเข้าใจ PBV Ratio
ความหมายของ PBV
PBV = ราคาหุ้นปัจจุบัน / มุลค่าทางบัญชี หรือ เราจะได้สูตรใหม่ ดังนี้
PBV = (Price x Earning) / (Equity x Earning)
จับคู่ใหม่ให้เห็นชัดๆคือ PBV = {Price / Earning) x {Earning / Equity) เราจะได้ สูตรใหม่ดังนี้
PBV = PE x ROE
สูตร นี้บอกเราว่าค่า PBV ถูกกำหนดด้วยค่าสองค่าคือ PE และ ROE (อัตราผลตอบแทนส่วนผู้ถือหุ้น) เรื่องPE ผมกล่าวไปแล้วเมื่อคราวที่แล้ว ส่วนROE นั้นค่านี้บอกเราว่าบริษัทเอาเงินทุนที่ได้จากผู้ถือหุ้นไปลงทุนแล้วสร้างผล ตอบแทนได้คุ้มค่าหรือไม่
คราว นี้เรามาดูว่า หุ้นที่ PBV มีค่าสูงค่าต่ำนั้นบ่งบอกอะไร บ้าง
(1) หุ้นที่ PBV ต่ำ PE สูง ROE ต่ำ เป็นหุ้นที่อาจมีมูลค่าเกินพื้นฐานไปแล้ว เพราะPEสูงแต่กลับ ให้ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้นต่ำ มันจึงมาสะท้อนออกที่ PBV
(2) หุ้นที่ PBV ต่ำ PE ต่ำ ROE สูง อาจเป็นหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง (สะท้อนออกทาง PE) หรืออาจจะมีมูลค่าต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน อันนี้ต้องเข้าไปดูรายละเอียดการดำเนินงานของบริษัท ถ้าธุรกิจดี ไม่เสี่ยงอย่างที่ตลาดคิดก็น่าลงทุนมาก
(3) หุ้นที่ PBV สูง PE สูง ROE ต่ำ หุ้นแบบนี้อันตรายมาก เพราะผลตอบแทนผู้ถือหุ้นต่ำ PE กลับสูง และเชื่อว่าต้องสูงมากถึงสามารถดึง PBV ให้สูงตามไป ด้วย
(4) หุ้นที่ PBV สูง PE ต่ำ ROE สูง หุ้นแบบนี้อาจเป็นหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง หรือความไม่แน่นอนของการทำกำไรไม่แน่นอน หรือบางครั้งราคาสูงเกินมูลค่าไปแล้วก็ได้ เพราะผลตอบแทนผู้ถือหุ้นสูงมาก แต่ PEกลับต่ำมาก การที่ROEสูงอาจเป็นเพราะมี หนี้สินมากกว่าทุนมากๆก็ได้ แน่นอนครับว่าหนี้สินมากๆก็นำมาซึ่งความเสี่ยงที่สูงตามไปด้วย
ทั้งหมดนี้เราต้องดูพื้นฐานทางธุรกิจประกอบกันเพื่อให้เป็นการยืน ยันซึ่งกันและกันว่า ทั้งธุรกิจซึ่งเป็นเหตุนั้นส่งผลให้ผลที่ได้ออกมาคืออัตราส่วนต่างๆนั้นออก มาในรูปแบบใด
[ตัดต่อบางส่วนมา....]
ขยายความต่อได้ก็คือ P/BVของบริษัทที่มากกว่า1 (ราคาหุ้นมีค่ามากกว่ามูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น) นั้นหมายความว่า มูลค่าของบริษัทในตลาดหุ้นมีมากกว่ามูลค่าของสินทรัพย์ที่บริษัทมีอยู่จริงเสียอีก ซึ่งส่วนใหญ่P/BVที่มากกว่า1มากๆจะเกิดขึ้นกับบริษัทที่มีผลประกอบการดี กำไรสูง และคนส่วนใหญ่เชื่อว่าบริษัทมีมูลค่ามากกว่าสินทรัพย์ของบริษัทที่จับต้องได้ มูลค่าที่เพิ่มขึ้นมานั้นอาจจะเกิดจาก ความสามารถในการจัดการของผู้บริหาร มูลค่าของยี่ห้อสินค้า หรือแม้กระทั่งอำนาจผูกขาดในตลาดที่บริษัททำธุรกิจอยู่ สิ่งเหล่านี้ทำให้ราคาทีคนยอมรับซื้อ-ขายกันในตลาดหุ้นนั้นสูงกว่ามูลค่าของสินทรัพย์ต่อหุ้นที่บริษัทมีอยู่มาก (ตัวอย่าง PTTEP ซึ่งมี ราคาปิดต่อมูลค่าตามบัญชีเท่ากับ 2.9)
P/BVของบริษัทที่ต่ำกว่า1 (ราคาหุ้นมีค่าต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น) นั้นหมายความว่า มูลค่าของบริษัทนั้นๆในตลาดหุ้นต่ำกว่ามูลค่าของสินทรัพย์ที่บริษัทมีอยู่จริง ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับบริษัททีมีผลประกอบการไม่ดี ขาดทุนบ่อย และคนส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่นในองกรค์นี้เท่าไรนัก มูลค่าที่คนยอมรับซื้อ-ขายกันในตลาดหุ้นจึงต่ำกว่าสินทรัพย์ที่บริษัทมี (ตัวอย่าง RCL ซึ่งมี ราคาปิดต่อมูลค่าตามบัญชีเท่ากับ 0.51)
ประยุกต์ใช้กับสถานการณปัจุบัน
แล้วตอนนี้เราอยู่ในวิกฤตหรือเปล่า? ถ้าวิกฤตทางการเมืองละไม่แน่ แต่วิกฤตทางเศรษฐกิจนี้เลิกคิดไปได้เลย เพราะสัญญาน และตัวเลขต่างๆบอกตรงกันว่าเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยกำลังฟื้นตัว เพราะฉะนั้น นักลงทุนส่วนใหญ่ควรมองเห็นว่าถ้าดูกันระยะยาว ยังไงๆตลาดก็ต้องดีขึ้น ถึงแม้จะมีเรื่องความไม่มั่นคงทางการเมือง แต่เมื่อเปรียบเทียบความรุนแรงระหว่างการเมืองกับสงครามโลกครั้งที่สอง จะเห็นได้ว่า การเมืองบ้านเรายังเบากว่าและสั้นกว่ามากนัก เมื่อคำนวนปัจจัยบวกลบกันแล้ว สถานการณ์ตลาดหุ้นถือว่าค่อนข้างปกติ และไม่ได้อยู่ในช่วงวิกฤตอะไร
แต่สิ่งทีน่าแปลกใจคือ หุ้นหลายๆตัวมีค่าP/BVน้อยกว่า1 (บางตัวถึงขนาดน้อยกว่า0.5) ซึ่งน่าแปลกใจว่าทำไมมันถึงunder-valuedได้มากขนาดนี้ ย้ำนะครับว่าP/BVน้อยกว่า1แปลว่า การซื้อหุ้นของบริษัทนั้นๆในตลาดหลักทรัพย์นั้นถูกกว่าการที่คุณไปลงทุนซื้อสินทรัพย์มาตั้งบริษัทใหม่เองเสียอีก ซึ่งอาจจะแปลความหมายได้ว่า ตลาดตีมูลค่าประสบการณ์ที่สั่งสมมา ทักษะการบริหาร และโอกาสในการทำกำไรของบริษัท เป็นติดลบ! ทำให้มูลค่าทางตลาดที่ถูกสะท้อนอยู่ในราคาหุ้นนั้น ต่ำกว่ามูลค่าสินทรัพย์ซึ่งเป็นแค่สิ่งของที่บริษัทเป็นเจ้าของเสียอีก ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วสิ่งนี้จะเกิดขึ้นกับบริษัทที่นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่นในผลประกอบการในอนาคต หรือ ภาพลักษณ์ในอดีตไม่ดีนัก
อย่างไรก็ตาม ถ้าเราเชื่อและมีเหตุผลชัดเจนว่าอนาคตของบริษัทนั้นๆจะดีขึ้นและมีกำไรแน่นอน แต่P/BVดันต่ำกว่า 1 เราก็รู้แล้วว่าหุ้นตัวนี้ราคาถูกไป ควรซื้อเก็บไว้ เพราะในฐานะบริษัทที่ทำกำไร หรือกำลังจะกำไร มูลค่าตลาดที่สะท้อนอยู่ในราคาหุ้นนั้นไม่ควรจะต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชี และถ้าต่ำกว่า ก็จะต่ำกว่าไม่ได้นานหนัก ยังไงๆก็ต้องปรับตัวขึ้นมาไม่ช้าก็เร็ว ไม่คุ้มเหรอครับที่ เราสามารถซื้อสินทรัพย์จากตลาดในราคาที่ถูกกว่าที่เจ้าของเขาซื้อมา แถมยังได้บุคคลากรที่มีประสบการณ์ และสิ่งที่บริษัทสั่งสมมาต่างๆนาๆ
สรุปแล้วก็คือ โดยทั่วไปราคาของหุ้นแต่ละบริษัทควรจะมีP/BVไม่ต่ำกว่า1 แต่ในยามที่เกิดวิกฤติหนักๆ ก็ไม่แปลกอะไรที่P/BVจะน้อยกว่าหนึ่งนั้นเอง
[ทำความเข้าใจเพิ่มเติม....]
ทำความเข้าใจ PBV Ratio
ความหมายของ PBV
PBV = ราคาหุ้นปัจจุบัน / มุลค่าทางบัญชี หรือ เราจะได้สูตรใหม่ ดังนี้
PBV = (Price x Earning) / (Equity x Earning)
จับคู่ใหม่ให้เห็นชัดๆคือ PBV = {Price / Earning) x {Earning / Equity) เราจะได้ สูตรใหม่ดังนี้
PBV = PE x ROE
สูตร นี้บอกเราว่าค่า PBV ถูกกำหนดด้วยค่าสองค่าคือ PE และ ROE (อัตราผลตอบแทนส่วนผู้ถือหุ้น) เรื่องPE ผมกล่าวไปแล้วเมื่อคราวที่แล้ว ส่วนROE นั้นค่านี้บอกเราว่าบริษัทเอาเงินทุนที่ได้จากผู้ถือหุ้นไปลงทุนแล้วสร้างผล ตอบแทนได้คุ้มค่าหรือไม่
คราว นี้เรามาดูว่า หุ้นที่ PBV มีค่าสูงค่าต่ำนั้นบ่งบอกอะไร บ้าง
(1) หุ้นที่ PBV ต่ำ PE สูง ROE ต่ำ เป็นหุ้นที่อาจมีมูลค่าเกินพื้นฐานไปแล้ว เพราะPEสูงแต่กลับ ให้ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้นต่ำ มันจึงมาสะท้อนออกที่ PBV
(2) หุ้นที่ PBV ต่ำ PE ต่ำ ROE สูง อาจเป็นหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง (สะท้อนออกทาง PE) หรืออาจจะมีมูลค่าต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน อันนี้ต้องเข้าไปดูรายละเอียดการดำเนินงานของบริษัท ถ้าธุรกิจดี ไม่เสี่ยงอย่างที่ตลาดคิดก็น่าลงทุนมาก
(3) หุ้นที่ PBV สูง PE สูง ROE ต่ำ หุ้นแบบนี้อันตรายมาก เพราะผลตอบแทนผู้ถือหุ้นต่ำ PE กลับสูง และเชื่อว่าต้องสูงมากถึงสามารถดึง PBV ให้สูงตามไป ด้วย
(4) หุ้นที่ PBV สูง PE ต่ำ ROE สูง หุ้นแบบนี้อาจเป็นหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง หรือความไม่แน่นอนของการทำกำไรไม่แน่นอน หรือบางครั้งราคาสูงเกินมูลค่าไปแล้วก็ได้ เพราะผลตอบแทนผู้ถือหุ้นสูงมาก แต่ PEกลับต่ำมาก การที่ROEสูงอาจเป็นเพราะมี หนี้สินมากกว่าทุนมากๆก็ได้ แน่นอนครับว่าหนี้สินมากๆก็นำมาซึ่งความเสี่ยงที่สูงตามไปด้วย
ทั้งหมดนี้เราต้องดูพื้นฐานทางธุรกิจประกอบกันเพื่อให้เป็นการยืน ยันซึ่งกันและกันว่า ทั้งธุรกิจซึ่งเป็นเหตุนั้นส่งผลให้ผลที่ได้ออกมาคืออัตราส่วนต่างๆนั้นออก มาในรูปแบบใด
Thursday, February 27, 2014
ทำไมหุ้นไทยไม่ไปไหน
ก็คิดอย่างนั้นเหมือนกัน :P
---------------------------------------------------------------------------
ทำไมหุ้นไทยไม่ไปไหน
โดย วิบูลย์ พึงประเสริฐ 6 มิถุนายน 2551
เท่าที่อ่านบทวิเคาระห์เกี่ยว กับตลาดหุ้นไทยมาหลายปี นักวิเคาระห์ดัชนีตลาดหุ้นไทยมักออกมาฟันธงว่าหุ้นไทยจะไป 1,000 จุดเป็นประจำทุกปี เป็นเวลาอย่างน้อย 4-5 ปีติดต่อกัน นับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 เป็นต้นมา ดัชีหุ้นไทยไม่เคยขึ้นไปสูงเกิน 1,000 จุดสักครั้งเดียว จุดที่ใกล้เคียงที่สุดคือในช่วงปลายปี 2547 ที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นขึ้นไปถึง 920 จุดก่อนที่เกิดปัญหาซับไพร์มต้นปีจนดัชนีร่วงลงไปถึง 720 จุดก่อนที่ปรับตัวกลับมาที่ 870 จุดในเดือนพฤษภาคม และลงมาเหลือ 800 จุดในปัจจุบันภายในเวลาสองสามอาทิตย์
เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นใน ประเทศอาเซียนที่เกิดวิกฤตค่าเงินด้วยกันแล้ว ดัชนีหุ้นประเทศอื่นๆในแถบนี้ต่างปรับตัวเกิน1,000 จุดไปนานแล้ว ไม่นับตลาดหุ้นจีนที่กำลังร้อนแรง หรือตลาดหุ้นเวียดนามที่เพิ่งเปิดดำเนินการต่างมีดัชนีแซงหน้าตลาดหุ้นไทยไป กันแทบทุกประเทศ ตัวอย่างเช่น ดัชนีตลาดหุ้นมาเลเซียในช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2541 ดัชนี ลดลงไปเหลือ 261 จุด ปัจจุบันดัชนีอยู่ที่ 1,253 จุด ดัชนีตลาดหุ้นอินโดนีเซียปีดที่ 2,362 จุด ดัชนีตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปัจจุบันอยู่ที่ 3,028 จุด ตลาดหุ้นเหล่านี้ต่างประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงปี 2540 ด้วยกันทั้งสิ้นและดัชนีลดลงไม่ต่างจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยสักเท่าไหร่ นัก แต่ปัจจุบันตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาคนี้ต่างให้ผลตอบแทนมากกว่าตลาดหุ้นไทยมาก รวมทั้งปรับตัวเกิน 1,000 จุด ขณะที่ตลาดหุ้นไทยยังขึ้นๆลงๆอยู่แถวๆ 700-900 จุดไม่ไปไหนเสียทีมาหลายปีแล้ว
เหตุใดตลาดหุ้นไทยถึงไม่สมารถ ปรับตัวเกิน 1,000 จุดเหมือนประเทศอื่นๆได้เสียที น่าจะมีสาเหตุที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์นี้ขึ้นได้ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
ข้อแรก สาหตุจากความไม่มั่นคงทางการเมือง ประเทศไทยผ่านการรัฐประหารครั้งล่าสุด เมื่อเดือนกันยายน 2549 นับเป็นเวลานานกว่าสิบปีที่เหตุการณ์นี้ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย การมีรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง รวมทั้งผู้บริหารประเทศมาจากการปฏิวัติรัฐประหารนั้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่นักลงทุนต่างประเทศให้ความเชื่อถือมากนัก เพราะประเทศไทยเป็นประเทศประชาธิปไตยมีรัฐบาลมาจากเลือกตั้งเป็นเวลานาน อยู่ๆทหารออกมาฉีกรัฐธรรมมูญแล้วตั้งตนเองปกครองประเทศ สำหรับประเทศในเอเซียนั้นคงหาได้ยาก ยกเว้นหากเกิดในประเทศด้อยพัฒนาอย่างในประเทศในอาฟริกาอาจไม่น่าแปลกใจนัก นอกเหนือจากนั้นการที่มีผู้คนออกมาประท้วงรัฐบาลบ่อยๆจนสามารถโค่นล้มรัฐบาล ได้ ดูเหมือนเหล่านักประท้วงหล่านั้นคิดว่าวิถีทางนี้เป็นสิ่งที่น่าปฏิบัติและ น่าจะได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงออกมาประท้วงกันอีกรอบเพื่อไล่รัฐบาลที่ตนเองไม่ชอบออกไป แต่ที่แปลกคือประเทศประชาธิปไตยอย่างสหรัฐอเมริกา มีคนไม่ชอบประธานาธิบดีบุชอยู่มากกว่าครึ่งประเทศ แต่ก็ไม่มีใครใช้วิธีการประท้วงและปฏิวัติรัฐประหารเพื่อไล่ประธานาธิบดีบุ ชแต่อย่างใด ประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมืองสามารถทำให้ดัชนีตลาดหุ้นเพิ่มขึ้นได้อย่าง ต่อเนื่อง
เหตุผลอีกข้อหนึ่ง คือ ตลาดหุ้นไทยไม่มีหุ้นใหญ่เข้าตลาดมาเป็นเวลานานหลายปี ตั้งแต่การแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตถูกศาลระงับไป ตลาดหุ้นไทยก็ไม่มีหุ้นจากบริษัทใหญ่ๆหรือรัฐวิสาหกิจขนาดแสนล้านเข้าระดม ทุนในตลาดหุ้นอีกเลย รวมทั้งการที่บริษัทเบียร์แห่งหนึ่งถูกประท้วงจนต้องไปจดทะเบียนในตลาดหุ้น สิงคโปร์แทน ทำให้มาร์เกตแคปของตลาดหุ้นไทยต้องอาศัยหุ้นบริษัทเดิมๆที่จดทะเบียนอยู่ ก่อนแล้วเป็นตัวผลักดันดัชนี ซึ่งถ้าหุ้นบริษัทเหล่านั้นไม่สามารถปรับตัวเพิ่มได้มาก ดัชนีหุ้นไทยก็ไม่สามารถไปไหนไกลได้
ดังนั้น การผลักดันให้ดัชนีหุ้นไทยเพิ่มขึ้นกว่า 1,000 จุดนั้นทำได้โดยแปรรูปรัฐวิสากิจขนาดใหญ่เข้าตลาดหุ้นอย่างโปร่งใส และเลิกวงจรอุบาทว์ทางการเมืองที่ประเทศไทยเผชิญอยู่เป็นเวลากว่า 50 ปี โดยการเลิกประท้วง เลิกปฏิวัติรัฐประหาร สนับสนุนรัฐบาลอยู่จนครบเทอม จากนั้นให้ประเทศเข้าสู่วงจรของการเลือกตั้งตามวิถีทางของประเทศที่เป็น ประชาธิปไตยที่แท้จริงเสียที
cr: ทำไมหุ้นไทยไม่ไปไหน
---------------------------------------------------------------------------
ทำไมหุ้นไทยไม่ไปไหน
โดย วิบูลย์ พึงประเสริฐ 6 มิถุนายน 2551
เท่าที่อ่านบทวิเคาระห์เกี่ยว กับตลาดหุ้นไทยมาหลายปี นักวิเคาระห์ดัชนีตลาดหุ้นไทยมักออกมาฟันธงว่าหุ้นไทยจะไป 1,000 จุดเป็นประจำทุกปี เป็นเวลาอย่างน้อย 4-5 ปีติดต่อกัน นับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 เป็นต้นมา ดัชีหุ้นไทยไม่เคยขึ้นไปสูงเกิน 1,000 จุดสักครั้งเดียว จุดที่ใกล้เคียงที่สุดคือในช่วงปลายปี 2547 ที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นขึ้นไปถึง 920 จุดก่อนที่เกิดปัญหาซับไพร์มต้นปีจนดัชนีร่วงลงไปถึง 720 จุดก่อนที่ปรับตัวกลับมาที่ 870 จุดในเดือนพฤษภาคม และลงมาเหลือ 800 จุดในปัจจุบันภายในเวลาสองสามอาทิตย์
เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นใน ประเทศอาเซียนที่เกิดวิกฤตค่าเงินด้วยกันแล้ว ดัชนีหุ้นประเทศอื่นๆในแถบนี้ต่างปรับตัวเกิน1,000 จุดไปนานแล้ว ไม่นับตลาดหุ้นจีนที่กำลังร้อนแรง หรือตลาดหุ้นเวียดนามที่เพิ่งเปิดดำเนินการต่างมีดัชนีแซงหน้าตลาดหุ้นไทยไป กันแทบทุกประเทศ ตัวอย่างเช่น ดัชนีตลาดหุ้นมาเลเซียในช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2541 ดัชนี ลดลงไปเหลือ 261 จุด ปัจจุบันดัชนีอยู่ที่ 1,253 จุด ดัชนีตลาดหุ้นอินโดนีเซียปีดที่ 2,362 จุด ดัชนีตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปัจจุบันอยู่ที่ 3,028 จุด ตลาดหุ้นเหล่านี้ต่างประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงปี 2540 ด้วยกันทั้งสิ้นและดัชนีลดลงไม่ต่างจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยสักเท่าไหร่ นัก แต่ปัจจุบันตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาคนี้ต่างให้ผลตอบแทนมากกว่าตลาดหุ้นไทยมาก รวมทั้งปรับตัวเกิน 1,000 จุด ขณะที่ตลาดหุ้นไทยยังขึ้นๆลงๆอยู่แถวๆ 700-900 จุดไม่ไปไหนเสียทีมาหลายปีแล้ว
เหตุใดตลาดหุ้นไทยถึงไม่สมารถ ปรับตัวเกิน 1,000 จุดเหมือนประเทศอื่นๆได้เสียที น่าจะมีสาเหตุที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์นี้ขึ้นได้ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
ข้อแรก สาหตุจากความไม่มั่นคงทางการเมือง ประเทศไทยผ่านการรัฐประหารครั้งล่าสุด เมื่อเดือนกันยายน 2549 นับเป็นเวลานานกว่าสิบปีที่เหตุการณ์นี้ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย การมีรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง รวมทั้งผู้บริหารประเทศมาจากการปฏิวัติรัฐประหารนั้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่นักลงทุนต่างประเทศให้ความเชื่อถือมากนัก เพราะประเทศไทยเป็นประเทศประชาธิปไตยมีรัฐบาลมาจากเลือกตั้งเป็นเวลานาน อยู่ๆทหารออกมาฉีกรัฐธรรมมูญแล้วตั้งตนเองปกครองประเทศ สำหรับประเทศในเอเซียนั้นคงหาได้ยาก ยกเว้นหากเกิดในประเทศด้อยพัฒนาอย่างในประเทศในอาฟริกาอาจไม่น่าแปลกใจนัก นอกเหนือจากนั้นการที่มีผู้คนออกมาประท้วงรัฐบาลบ่อยๆจนสามารถโค่นล้มรัฐบาล ได้ ดูเหมือนเหล่านักประท้วงหล่านั้นคิดว่าวิถีทางนี้เป็นสิ่งที่น่าปฏิบัติและ น่าจะได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงออกมาประท้วงกันอีกรอบเพื่อไล่รัฐบาลที่ตนเองไม่ชอบออกไป แต่ที่แปลกคือประเทศประชาธิปไตยอย่างสหรัฐอเมริกา มีคนไม่ชอบประธานาธิบดีบุชอยู่มากกว่าครึ่งประเทศ แต่ก็ไม่มีใครใช้วิธีการประท้วงและปฏิวัติรัฐประหารเพื่อไล่ประธานาธิบดีบุ ชแต่อย่างใด ประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมืองสามารถทำให้ดัชนีตลาดหุ้นเพิ่มขึ้นได้อย่าง ต่อเนื่อง
เหตุผลอีกข้อหนึ่ง คือ ตลาดหุ้นไทยไม่มีหุ้นใหญ่เข้าตลาดมาเป็นเวลานานหลายปี ตั้งแต่การแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตถูกศาลระงับไป ตลาดหุ้นไทยก็ไม่มีหุ้นจากบริษัทใหญ่ๆหรือรัฐวิสาหกิจขนาดแสนล้านเข้าระดม ทุนในตลาดหุ้นอีกเลย รวมทั้งการที่บริษัทเบียร์แห่งหนึ่งถูกประท้วงจนต้องไปจดทะเบียนในตลาดหุ้น สิงคโปร์แทน ทำให้มาร์เกตแคปของตลาดหุ้นไทยต้องอาศัยหุ้นบริษัทเดิมๆที่จดทะเบียนอยู่ ก่อนแล้วเป็นตัวผลักดันดัชนี ซึ่งถ้าหุ้นบริษัทเหล่านั้นไม่สามารถปรับตัวเพิ่มได้มาก ดัชนีหุ้นไทยก็ไม่สามารถไปไหนไกลได้
ดังนั้น การผลักดันให้ดัชนีหุ้นไทยเพิ่มขึ้นกว่า 1,000 จุดนั้นทำได้โดยแปรรูปรัฐวิสากิจขนาดใหญ่เข้าตลาดหุ้นอย่างโปร่งใส และเลิกวงจรอุบาทว์ทางการเมืองที่ประเทศไทยเผชิญอยู่เป็นเวลากว่า 50 ปี โดยการเลิกประท้วง เลิกปฏิวัติรัฐประหาร สนับสนุนรัฐบาลอยู่จนครบเทอม จากนั้นให้ประเทศเข้าสู่วงจรของการเลือกตั้งตามวิถีทางของประเทศที่เป็น ประชาธิปไตยที่แท้จริงเสียที
cr: ทำไมหุ้นไทยไม่ไปไหน
Saturday, February 8, 2014
หินก้อนใหญ่ในชีวิต
วันหนึ่ง นักบริหารเวลาไปเลคเชอร์ให้กับนักเรียนโรงเรียนพานิชยการแห่งหนึ่ง
“ พวกเรามาทำการทดลองเล็กๆ ชิ้นหนึ่ง “ เขาหยิบขวดปากกว้างที่บรรจุได้หนึ่งแกลลอนมาวางบนโต๊ะ จากนั้น หยิบก้อนหินขนาดเท่ากำปั้นวางเข้าไปในขวดก้อนแล้วก้อนเล่า กระทั่งก้อนหินพูนถึงปากขวดและไม่สามารถวางลงได้อีก เขาถามว่า “ ขวดนี้เต็มหรือยัง “ นักเรียนทั้งหมดตอบว่า “ เต็มแล้ว “
เขาถามกลับไปว่า “ จริงหรือ “ จากนั้นเขาก็ก้มลงหยิบถังบรรจุเศษหินจากใต้โต๊ะขึ้นมา เทใส่แล้วเขย่าๆ เพื่อให้เศษหินสามารถแทรกเข้าทุกช่องว่างของหิน “ ตอนนี้ขวดเต็มแล้วหรือยัง “ ครั้งนี้นักเรียนบางคนเริ่มเข้าใจแล้ว
“ คงยังไม่เต็ม “ นักเรียนคนหนึ่งตอบ
“ ดีมาก “ เขายื่นมือไปหยิบถังทรายใต้โต๊ะขึ้นมาอีก แล้วเทใส่ขวดอย่างช้าๆ เม็ดทรายถูกบรรจุเข้าไปในช่องว่างของหินทั้งหมด เขาถามนักเรียนอีกครั้ง “ ขวดนี้เต็มหรือยัง “
“ ยังไม่เต็ม “ นักเรียนทั้งหมดตอบเสียงดัง จากนั้นเขาหยิบกาน้ำขึ้นมาแล้วเทใส่ขวดจนเสมอปากขวด แล้วมองมาที่นักเรียน “ ตัวอย่างครั้งนี้บอกอะไรกับเรา “
นักเรียนคนหนึ่งยกมือตอบว่า “ มันบอกพวกเราว่า ไม่ว่าตารางเวลาของคุณจะแน่นขนาดไไหน แต่ถ้าคุณได้พยายาม คุณก็สามารถทำอะไรได้มากขึ้นอีก “
“ ไม่ “ เขาตอบ “ นั่นมันยังไม่ใช่หัวใจที่แท้จริงของมัน “ ตัวอย่างเช่นนี้บอกกับเราว่า ถ้าคุณไม่เอาหินก้อนใหญ่ใส่เข้าในขวดก่อน คุณก็จะไม่สามารถใส่มันเข้าไปได้อีกเลย ฉะนั้น อะไรคือ “ หินก้อนใหญ่ “ ในชีวิตของคุณ ความศรัทธา ความรู้ ความฝันของคุณ หรือว่าเหมือนกับฉัน เผยแพร่ ถ่ายทอด ไขข้อสงสัย โปรดจำให้ดีว่าจะต้องจัดการกับ “ หินก้อนใหญ่ “ เหล่านี้ก่อน มิฉะนั้นคุณก็อาจจะพลาดไปทั้งชีวิต “
*** ช่องว่างเท่ากัน การจัดลำดับวางสิ่งของที่ต่างกัน ผลลับก็ต่างกันมาก เวลาเท่ากัน การจัดการลำดับการงานที่ต่างกัน ผลงานก็ต่างกันลิบลับ สำคัญที่สุด “ หินก้อนใหญ่ “ จะต้องเรียงอันดับหนึ่งเสมอ
ซื้อทำไมตอนหุ้นลง?
ในช่วงเวลาที่ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจบอกว่าไม่ดี, เงินลงทุนของต่างชาติทยอยขายออกจากตลาดฯ ทำไมเมื่อถึงจุดๆหนึ่งจึงมีการเข้าไปซื้อ จะบอกว่าเงินปันผลดี? ผลประกอบการ/ธุรกิจมีความแข็งแกร่งกว่าตลาดและราคาลงมามากแล้ว? มันใช่เหตุผลจริงๆหรือที่ควรเข้าไปซื้อ ตามนักวิเคราะห์ หรือ VI คนดังแนะนำ?
สมมติสถานะการณ์ปัจจุบัน (Jan, 2014) สภาพเศรษฐกิจภายในประเทศที่ขาดแรงผลักดันจากภาครัฐ ความเชื่อมั่นนักลงทุน/ธุรกิจ/อุตสาหกรรมลดน้อยลง และความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงต่อเนื่อง หวังพึ่งพาการส่งออกจากการที่ค่าเงินบาทอ่อนตัว ที่อย่างน้อยก็ครึ่งปีที่จะสามารถออกจากสภาพสูญญากาศนี้ได้ ผลประกอบการธุรกิจของปี 2014 ที่จะหวังให้มีปันผลดีๆ หรือ capital gain จากราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้น คงทำได้ยาก ผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งปีคงไม่สูงนัก, แล้วซื้อทำไม? (เทียบกับความเสี่ยงที่ยังไม่รู้)
========================================================
กลยุทธ์การลงทุนในปีนี้ จะแตกต่างจากปีก่อนๆ ที่หากสถานะการณ์ดี การลงทุนก็ไม่ต้องทำอะไรมาก หรืออย่างน้อยที่สุด เมื่อลงทุนไปแล้ว ปล่อยให้เงินทำงานเอง ยังไงก็มีผลตอบแทนกลับมา มากน้อยตามโอกาสที่มี (Return > Risk)
แต่ถ้าปีที่ไม่มีความชัดเจน ไม่รู้ว่าจะดีหรือร้าย ขาดปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจทั้งภายใน-ภายนอกประเทศ สะท้อนความเสี่ยงในการลงทุนมีสูง การวางเงินไว้แล้วไม่สนใจ ไปหวังลุ้นเอาตอนสิ้นปี หรือรับเงินปันผล อาจทำให้ได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่าก็ได้ หรือแย่ที่สุดคือเงินต้นลดลง (ขาดทุน)
ปีนี้เน้นการถือเงินสดกับตัวเองมากขึ้น ลงทุนเมื่อมีความน่าสนใจเป็นพิเศษ เช่น การลงลึกๆ ถูกแบบเวอร์ๆ หาไม่ได้แล้วในราคานี้ภายใน 3ปี 5ปี หรือเน้นทำรอบ บ่อยๆ ผลตอบแทนต่อรอบไม่ต้องสูงนัก มองผลตอบแทนรวมในช่วงเวลาเดือน, ปี ให้ชนะค่าเฉลี่ย
สมมติสถานะการณ์ปัจจุบัน (Jan, 2014) สภาพเศรษฐกิจภายในประเทศที่ขาดแรงผลักดันจากภาครัฐ ความเชื่อมั่นนักลงทุน/ธุรกิจ/อุตสาหกรรมลดน้อยลง และความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงต่อเนื่อง หวังพึ่งพาการส่งออกจากการที่ค่าเงินบาทอ่อนตัว ที่อย่างน้อยก็ครึ่งปีที่จะสามารถออกจากสภาพสูญญากาศนี้ได้ ผลประกอบการธุรกิจของปี 2014 ที่จะหวังให้มีปันผลดีๆ หรือ capital gain จากราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้น คงทำได้ยาก ผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งปีคงไม่สูงนัก, แล้วซื้อทำไม? (เทียบกับความเสี่ยงที่ยังไม่รู้)
========================================================
กลยุทธ์การลงทุนในปีนี้ จะแตกต่างจากปีก่อนๆ ที่หากสถานะการณ์ดี การลงทุนก็ไม่ต้องทำอะไรมาก หรืออย่างน้อยที่สุด เมื่อลงทุนไปแล้ว ปล่อยให้เงินทำงานเอง ยังไงก็มีผลตอบแทนกลับมา มากน้อยตามโอกาสที่มี (Return > Risk)
แต่ถ้าปีที่ไม่มีความชัดเจน ไม่รู้ว่าจะดีหรือร้าย ขาดปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจทั้งภายใน-ภายนอกประเทศ สะท้อนความเสี่ยงในการลงทุนมีสูง การวางเงินไว้แล้วไม่สนใจ ไปหวังลุ้นเอาตอนสิ้นปี หรือรับเงินปันผล อาจทำให้ได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่าก็ได้ หรือแย่ที่สุดคือเงินต้นลดลง (ขาดทุน)
ปีนี้เน้นการถือเงินสดกับตัวเองมากขึ้น ลงทุนเมื่อมีความน่าสนใจเป็นพิเศษ เช่น การลงลึกๆ ถูกแบบเวอร์ๆ หาไม่ได้แล้วในราคานี้ภายใน 3ปี 5ปี หรือเน้นทำรอบ บ่อยๆ ผลตอบแทนต่อรอบไม่ต้องสูงนัก มองผลตอบแทนรวมในช่วงเวลาเดือน, ปี ให้ชนะค่าเฉลี่ย
Wednesday, January 29, 2014
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย สภาพเศรษฐกิจ และหุ้น
อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มลดลง แสดงให้เห็นถึงเศรษฐกิจไม่เข้มแข็งพอ มีการจับจ่ายใช้สอยน้อยลง จึงต้องใช้ดอกเบี้ยเป็นตัวกระตุ้น เพื่อลดภาระและผลักดันให้มีการลงทุนเพิ่ม
ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจมีความแข็งแรงพอ ความสามารถในการใช้จ่ายมีมาก ปริมาณเงินในเศรษฐกิจมีเยอะ เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น
การลงทุนในหุ้นที่ใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นตัวชี้วัด อาจมองจังหวะที่อัตราดอกเบี้ยมีการกลับตัวขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ย ที่กำลังแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวแล้ว ผู้บริโภคมีกำลังจ่ายเพิ่มขึ้น เอกชนมีความมั่นใจลงทุนเพิ่ม GDP ปรับตัวขึ้น ดัชนีน่าจะมีการปรับตัวขึ้นเช่นเดียวกัน
การลดการลงทุนหรือทยอยขายสินทรัพย์ออกมา หลังจากที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ที่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไปถึงจุดอิ่มตัว ผู้บริโภคลดการใช้จ่าย เงินเฟ้อทรงตัว รายรับเอกชนเติบโตน้อยลง ดัชนีเริ่มเต็มมูลค่า มีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลง
Subscribe to:
Posts (Atom)