SETTRADE.COM - SAA Consensus หุ้นที่มีการ update วันนี้

Wednesday, March 26, 2014

ทำไมหุ้นไทยไม่ไปไหน - ภาคต่อ

จากประเด็น ทำไมหุ้นไทยไม่ไปไหน ครั้งที่แล้ว



ย้อนหลัง 10 ปีเคยทำจุดสูงสุด 1700 กว่าๆ ได้ปรับตัวลดลงไปอยู่ก้นเหว แช่อยู่นาน แล้วกลับตัวสูงขึ้นยืนเหนือ 700 800 จุด แล้วร่วงกลับไปที่ 400 ใหม่ และได้มายืนอยู่ในปัจจุบัน (ผ่าน 1650)


ส่วนตัวแล้ว ตลาดหลักทรัพย์เป็นเรื่องการการระดมทุน ให้บริษัทหนึ่งๆเป็นมหาชน เปิดโอกาสให้นักลงทุนได้มีโอกาสเป็นเจ้าของ ส่วนเจ้าของก็ได้เงินทุนไปขยาย-ทำธรุกิจบริษัทให้เติบโตขึ้น


ภาพที่เห็นได้จากอดีต ถ้ามันเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้อง หรือมีผลกระทบกับธุรกิจ มันก็แน่นอนว่าจะต้องขายออกไป เปลี่ยนกลับมาถือเป็นเงินสดก่อนดีกว่า แต่การได้เห็นดัชนีถูกกดต่ำขนาดนั้น แสดงให้เห็นว่านักลงทุนทุกกลุ่มไม่มีความเชื่อมั่นเลย จึงต่างแย่งกันเทขายออกมาขนาดนั้น ซึ่งถ้ามีสักกลุ่มที่เชื่อมั่นอยู่ ก็น่าจะมีแรงรับหรือพยุงดัชนีไว้บ้างไม่มากก็น้อย หรือในอีกทางคือส่วนใหญ่ยังเป็นการลงทุนระยะสั้นอยู่ (เข้าใจเองว่าคงมีบ้างที่รับไว้ แต่น้อยกว่ามาก)


ดังนั้นถ้านักลงทุนยังมีลักษณะอย่างนี้ วิกฤติครั้งหน้า ไม่ว่าจะทางตรงหรืออ้อมก็อาจเกิดการเทขายอย่างนี้เกิดขึ้น แล้วดัชนีไทยจะไปได้ไกลแค่ไหนกัน?


[อีกด้านหนึ่งที่จะมีบริษัทต่างๆ เข้ามาเป็นมหาชนมากขึ้น หากความเชื่อมั่นยังเป็นอย่างนี้ ต่อให้มีบริษัทอยากเข้ามา แต่ความเชื่อมั่นไม่มีก็ระดมทุนไม่ได้อยู่ดี]


หรือว่างัย?



Thursday, March 20, 2014

ชาร์ตย้อนหลัง - ภาพอดีตกำหนดอนาคต

ภาพแรกย้อนหลัง 5 ปี, เส้นค่าเฉลี่ย 1, 2, 3 ปีตามลำดับ



ภาพต่อมา, ย้อนหลัง 10 ปี, เส้นค่าเฉลี่ย 2, 4, 6 ปี ตามลำดับ


:. โอกาสของราคาที่จะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนระยะยาวน้อย และสั้นกว่า (ถ้าไม่เกิดเหตุการณ์ล่มสลายกับตลาดฯ หรือระบบเศรษฐกิจในประเทศชนิดว่าความเชื่อมั่นติดลบระยะยาวๆ เช่นเปลี่ยนการปกครอง, โครงสร้างพื้นฐานเสียหาย เช่น ภัยพิบัติธรรมชาติตัดเส้นทางขนส่ง) จึงเป็นโอกาสที่สะสมหลักทรัพย์ได้ในราคาต่ำ
:. สัดส่วนของปริมาณอาจขึ้นกับโอกาสที่จะเกิด เช่น เหนือ MA ทุกเส้น กำหนดจำนวนน้อยมาก (หรือมองเป็นการเก็งกำไร) ต่ำกว่า MA1Y กำหนดไว้ 25%, ต่ำกว่า MA2Y กำหนดไว้ 50%, ต่ำกว่า MA3Y กำหนดไว้เป็น 100%, ต่ำกว่า MA5Y กำหนดไว้ 200% เป็นต้น

:.ต้องเปลี่ยนทัศนคติกับตลาดขาลงใหม่ ว่าไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เป็น เพียงแต่อยู่ผิดที่ผิดเวลา หรือผิดแผนที่ควรจะเป็น!

Tuesday, March 18, 2014

ลดดอกเบี้ย:ใครได้ใครเสีย

ลดดอกเบี้ย:ใครได้ใครเสีย 4

แนวโน้มการถือครองเงินสดและเงินฝากของธพ.ในสถาบันการเงินต่างประเทศ
ในภาพรวมแล้ว การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ อันนำมาสู่ภาวะที่อัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่บางลงตามการขยับขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในแต่ละเดือนนั้น น่าจะส่งผลดีต่อภาคธุรกิจเอกชนและรัฐบาล ผ่านต้นทุนการกู้ยืมเงินที่ถูกลง นอกจากนี้ ยังช่วยลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับลูกหนี้ ช่วยสร้างแรงจูงใจ ในการชำระหนี้และปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งจะบรรเทาปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคาร
ในส่วนของธนาคารเองนั้น การลดดอกเบี้ย ถึงแม้ว่าธนาคารจะไม่ได้รับผลประโยชน์จากการลดต้นทุนดอกเบี้ยฝากในทันที เนื่องจากต้องรอ ให้เงินฝากประจำ ทยอยครบกำหนดก่อนถึงจะบังคับใช้อัตราดอกเบี้ยใหม่ได้ (ซึ่งเงินฝากประจำครองสัดส่วนกว่าร้อยละ 70 ของฐานเงินฝากทั้งหมด) ขณะที่ธนาคารต้องรับรู้รายได้ จากดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลงทันที (โดยเฉพาะในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ให้กับธุรกิจ อิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มาตรฐานของธนาคาร)
แต่ท้ายที่สุด ธนาคารก็จะสามารถทยอยรับรู้ต้นทุนที่ลดลงดังกล่าวได้ ซึ่งจะมีผลให้ธนาคารมีความสามารถในการทำกำไร หรือมีส่วนต่างระหว่าง อัตราดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่าย (Net interest margin) ที่สูงขึ้นด้วย อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ฝากเงินนั้น แม้ว่าอาจไม่ใช่ผู้เบี้ยวหนี้ หรือต้นตอของปัญหาเศรษฐกิจ แต่คงต้องกลายเป็นผู้แบกรับต้นทุนโดยพฤตินัย ผ่านผลตอบแทนจากการฝากเงินที่ลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
โดยการลดดอกเบี้ยอาจไม่ได้สร้างแรงจูงใจในการบริโภคให้มากขึ้นตามที่ควรจะเป็นตามทฤษฎี แต่อาจกลับส่งสัญญาณให้ผู้ฝากเงินรู้สึกไม่ปลอดภัย และยิ่งชะลอการบริโภคมากขึ้นอีกก็เป็นได้ ความต้องการสินเชื่ออาจไม่ขยับเพิ่มขึ้น หากอนาคตเศรษฐกิจยังสั่นคลอน นั่นหมายความว่า แรงกระตุ้นทางบวก ของการลดดอกเบี้ยต่อผู้ผลิต ลูกหนี้ ธนาคารพาณิชย์ และรัฐบาล มีโอกาสที่จะไม่สัมฤทธิ์ผล
นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าการลดดอกเบี้ยจะเพิ่มศักยภาพในการทำกำไร ให้กับธนาคารพาณิชย์มากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าธนาคารพาณิชย์ จะพยายามที่จะลดหย่อน กฎเกณฑ์การปล่อยกู้ลง เพราะยังมีข้อจำกัดด้านเงินกองทุน และปัจจัยความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจอยู่ ขณะที่การพึ่งพิงแรงกระตุ้น จากภาคการผลิต หลังจากได้อานิสงค์ของการลดดอกเบี้ยนั้น อาจไม่สมหวัง เพราะภาคการผลิตยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินอีกมาก

แก้เศรษฐกิจ และบรรเทาผลกระทบต่อผู้ฝากเงิน: เงื่อนไขหลักที่รัฐควรเร่งดำเนินการ
เนื่องจากปัญหาต่างๆ เชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่ และการแก้ไขปัญหาที่ต้นตอ คงต้องเริ่มจากการผลักดันให้เศรษฐกิจดีขึ้นก่อนเป็นอันดับแรก โดยรัฐบาลอาจต้องใช้หลายมาตรการประกอบกันในระยะเวลาเดียวกัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ดึงความต้องการใช้จ่ายของผู้บริโภค พร้อมกับผลักดัน ให้ผู้ผลิตขยายการลงทุนให้มากขึ้น ซึ่งเมื่อประชาชน หรือหน่วยเศรษฐกิจ มีรายได้อื่นๆเข้ามาเสริม แทนที่จะพึ่งพิงแต่รายได้ จากอัตราดอกเบี้ย เป็นหลักเช่นแต่ก่อน
ความกังวลต่อการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยก็จะลดลง ความต้องการสินเชื่อใหม่ก็จะเพิ่มขึ้น ดันให้ภาวะสภาพคล่องส่วนเกิน และกลไก การทำงานของสถาบัน การเงินกลับเข้าสู่ปกติได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งจะค่อยๆสะท้อนออกมาในรูปของการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในระยะเวลาและลักษณะที่ควรจะเป็น
อย่างไรก็ดี การออกมาตรการเศรษฐกิจ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต่อภาระหนี้สาธารณะ และข้อจำกัดด้านงบประมาณของรัฐบาล อีกทั้งยังต้องอาศัยระยะเวลา สักระยะหนึ่งกว่าที่จะเห็นผล ดังนั้น ระหว่างนี้ เพื่อเป็นการบรรเทาแรงกดดันจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงต่อกลุ่มผู้ที่พึ่งพิงเงินออม
ทางการจึงควรเข้ามาทำหน้าที่ ช่วยแบกรับภาระดังกล่าว ด้วยการออกโครงการ ช่วยเหลือต่างๆ เช่น การออกพันธบัตรออมทรัพย์ คล้ายกับที่ทำ ในช่วงปีงบประมาณ 2543 โดยอาจยืดระยะเวลา ช่วงการถือครองพันธบัตร ที่เปลี่ยนมือไม่ได้ ให้ยาวขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ถือพันธบัตร ปฎิบัติตัวตรงตามจุดประสงค์ ขณะที่รัฐบาล อาจต้องยอม แบกรับต้นทุนอัตราดอกเบี้ย ที่ควรจะสูงกว่าอัตรา ดอกเบี้ยพันธบัตร ประเภทเดียวกันตามท้องตลาดนั้นแทน
อีกทางเลือกหนึ่ง คือ ทางการอาจเพิ่มข้อยกเว้นหรือข้อลดหย่อนต่างๆ โดยอาจเป็นการลดภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้กับผู้มีบัญชีเงินฝากประจำ เป็นต้น อย่างไรก็ดี การลดภาษีดังกล่าว อาจทำได้ยาก ในทางปฏิบัติเพราะถือเป็นรายได้ ก้อนใหญ่ของรัฐบาล ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในภาวะการคลังปัจจุบัน และในภาวะที่รัฐบาลใหม่ อาจตัดสินใจไม่ปรับเพิ่ม ภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 เมื่อถึงกำหนดในช่วงกลางปีนี้

แนวโน้มดอกเบี้ย: จะลงต่อหรือไม่ ขึ้นกับระดับสภาพคล่อง
เนื่องจาก เงื่อนไขหลัก ที่จะสกัดกั้นการลดลงของอัตราดอกเบี้ย ในระยะต่อไป คือ ระดับสภาพคล่องส่วนเกิน ของระบบสถาบันการเงินที่ลดลง อันเป็นผลจากการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจ ซึ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจนั้นขึ้นกับนโยบายเศรษฐกิจในช่วงต่อไปเป็นสำคัญ โดยถ้าหากเศรษฐกิจไม่สามารถมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้
นอกจากความต้องการสินเชื่อใหม่จะไม่เพิ่มขึ้นแล้ว ผู้มีเงินออมอาจยิ่งชะลอการบริโภค หันมาเก็บออมมากขึ้น สภาพคล่องส่วนเกินในระบบ สถาบันการเงิน ก็จะยิ่งพอกพูนขึ้นไปอีก ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ อาจมีความจำเป็นต้อง ลดดอกเบี้ย ลงอีกระลอกหนึ่ง ซึ่งอาจส่งผลต่อเนื่อง ให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะ “กับดักสภาพคล่อง” (Liquidity Trap) ได้
โดยกรณีดังกล่าวนี้ จะคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศญี่ปุ่น ที่ถึงแม้ว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย (nominal term) จะลดลงจนอัตราดอกเบี้ย ระยะสั้นเข้าใกล้ร้อยละศูนย์ นั่นคืออัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ มาเป็นระยะเวลานานแล้ว แต่กลับไม่มีผลในการเพิ่ม การใช้จ่ายและลงทุน ของประชาชนเท่าใดนัก เศรษฐกิจจึงไม่สามารถฟื้นตัวได้ อนึ่ง ระหว่างนี้
นอกเหนือจากการออกมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจ และลดผลกระทบ จากการลดดอกเบี้ย ต่อผู้ฝากเงินแล้ว ทางการอาจพิจารณา สานต่อมาตรการ การออกพันธบัตร เพื่อดูดซับสภาพคล่องของระบบสถาบันการเงิน เช่นที่เป็นอยู่ โดยควรยึดทางสายกลาง และระวังไม่ให้สร้างภาวะสภาพคล่องตึงตัว ให้กับระบบ เพราะจะผลักดัน ให้อัตราดอกเบี้ย ปรับตัวสูงขึ้นเร็วกว่า ที่ควรจะเป็น ซึ่งจะส่งผลเสีย ต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ